ทารกกินนมมากไปจนนอนร้องเสียงเหมือนแพะ นี่แหละคือภาวะ Over Feeding ที่คุณแม่ต้องระวัง

24 Apr 19 am30 11:50

สำหรับคุณแม่มือใหม่ปัญหาเรื่องการให้นมลูกนั้นเป็นเหมือนบทเรียนที่แสนยาก ทั้งเหนื่อย ทั้งกังวล และระบมเต้า แต่ Happy Mom.Lifeเชื่อว่า คุณแม่ต่างยอมเสียสละได้เพื่อลูกเสมอ วันนี้เราจะชวนคุณแม่มาคุยกันถึงอีกหนึ่งปัญหาที่คุณแม่มือใหม่หลายคนพบเจอ นั่นคือปัญหาลูกกินนมมากเกินไปจนเกิดภาวะ Over Feeding นั่นเองค่ะ เราลองมาทำความรู้จักภาวะนี้ว่าอันตรายแค่ไหน และจะช่วยป้องกันลูกได้อย่างไรดีค่ะ



ภาวะ Over Feeding คืออาการที่เกิดจากทารกกินนมเยอะเกินไปจนล้นกระเพาะ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ได้แก่


คุณหมออธิบายว่า อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับทารกที่กินนมแม่ และทารกที่กินนมผง โดยหากทารกกินนมแม่มีอาการ Over Feeding แต่ไม่อาเจียนและไม่งอแงปวดท้อง ก็ไม่มีปัญหาน่าห่วง เพราะไม่ได้เป็นอันตรายอะไร แต่หากลูกมีอาการอาเจียนบ่อยๆ อาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารเป็นแผลอักเสบได้ ส่วนทารกที่กินนมผง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Over Feeding มากกว่า ลูกอาจอึดอัด ไม่สบายตัว อาเจียน และเกิดภาวะอ้วนในอนาคตได้ค่ะ


ถึงแม้จะรู้ว่าอาการเหล่านี้ไม่อันตรายมากนัก แต่ถ้าสามารถควบคุมได้ก็จะเบาใจมากกว่า เพราะหากทารกเป็นมากจนอาเจียนก็อันตรายเหมือนกันนะคะ Happy Mom.Life รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะ Over Feeding มาฝากดังนี้ค่ะ


1. ทำความเข้าใจปริมาณนมที่เหมาะสมกับลูก

ก่อนอื่นเลย คุณแม่มือใหม่ต้องทำความเข้าใจปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมกับทารกก่อนนะคะ โดยให้สังเกตว่าทารกที่กินนมแม่มักต้องการนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ส่วนทารกที่กินนมจากขวดนม มักต้องการนมใน 60-90 มิลลิลิตร ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถสังเกตว่าลูกกินนมเยอะไปหรือไม่จากการสังเกตน้ำหนักของทารกได้ โดยดูน้ำหนักของทารกที่เหมาะสมตามตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ


ช่วงอายุ
น้ำหนักที่ควรขึ้นตามความเหมาะสม
0-3 เดือน600-900 กรัม/เดือน
4-6 เดือน450-600 กรัม/เดือน
7-12 เดือน300 กรัม/เดือน



ทำความเข้าใจปริมาณนมที่เหมาะสมกับลูก


2. หยุดป้อนนมทันทีเมื่อลูกอิ่ม

ให้คุณแม่สังเกตอาการของทารกขณะกินนมแม่ หากลูกแสดงอาการว่าอิ่ม เช่น ใช้เวลาดูดนมนานขึ้น เบือนหน้าหนี ปัดขวดนมทิ้ง ให้หยุดให้นมลูกทันทีค่ะ


3. ประเมินอึของลูก

คุณแม่สามารถประเมินว่าลูกมีภาวะ Over Feeding หรือไม่โดยดูจากอึของลูก โดยในแต่ละวัน ลูกควรอึครบ 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างประมาณ 4-5 ซม. หรือฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน หากมากเกินกว่านี้ ก็แปลว่าลูกอาจเข้าสู่ภาวะ Over Feeding แล้วนั่นเอง



ประเมินอึของลูก


4. เบี่ยงเบนความสนใจเมื่อลูกกินเยอะเกิน

หากคุณแม่สังเกตว่าลูกกำลังกินเยอะเกินไป คุณแม่อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจลูกโดยอาจอุ้มลูกไกวไปมา ใส่เปลไกว หรือใช้จุกนมหลอกแทนการให้ลูกกินนมค่ะ วิธีเหล่านี้อาจใช้ในช่วง 3-4 เดือนแรกเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลูกติดเป็นนิสัย


5. ให้นมลูกเป็นเวลา

คุณแม่สามารถฝึกให้ทารกกินนมเป็นเวลา แทนการให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกร้อง เพราะเวลาลูกร้อง อาจไม่ได้หมายความว่าลูกหิวเสมอไปก็ได้ค่ะ โดยคุณแม่อาจเลือกใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจลูกแทน


ช่วง 3-4 เดือนแรก เป็นช่วงที่ทารกกำลังปรับตัว หากเลยช่วงนี้ไปแล้ว ทารกจะเลี้ยงง่ายขึ้น คุณแม่มือใหม่อาจจะต้องเพิ่มความอดทนในช่วงนี้ไปก่อน อีกไม่นานทุกอย่างจะเบาลง แล้วคุณแม่จะได้ปลาบปลื้มกับพัฒนาการที่ดีของลูกรักค่ะ


ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ