เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร ให้จ้ำม่ำ น้ำหนักตัวเพิ่มในทารกแรกเกิด - 4 เดือน

01 Jul 19 am31 10:16

ให้ลูกกินนมแม่แต่ลูกกลับตัวเล็ก ไม่จ้ำม่ำ นับเป็นปัญหาหนักใจของคุณแม่หลายๆ ท่าน และพลอยแต่จะทำให้กังวลไปอีกสารพัด ว่า “อาจเป็นเพราะนมแม่มีสารอาหารไม่เพียงพอหรือเปล่า” หรือ “เป็นเพราะให้ลูกกินนมแม่น้อยเกินไป” จนคุณแม่หลายๆ ท่านที่ตั้งใจให้ลูกกินนมแม่จนถึงอายุ 6-12 เดือน หรือมากกว่านี้ อยากจะเปลี่ยนมาให้ลูกกินนมเสริมดูบ้าง เผื่อจะทำให้ลูกจ้ำม่ำ น้ำหนักตัวเพิ่มเหมือนลูกคนอื่น! ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่ที่กำลังคิดแบบนี้ล่ะก็ หยุดไว้ก่อนเลยค่ะ เพราะการที่คิดจะให้ลูกกินนมเสริมแทนนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่มีนมให้ลูกกินปกติ ไม่ได้มีปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย นี่…อาจจะเป็นวิธีที่ผิดก็ได้



เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็สามารถทำให้ลูกน้อยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ได้ หากคุณแม่รู้เทคนิคเหล่านี้


น้ำหนักเกณฑ์มาตรฐานของทารก

ก่อนอื่นคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่า การเปรียบเทียบน้ำหนักลูกของตนเองกับลูกคนอื่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง ฉะนั้น หากลูกของคุณมีน้ำหนักตัวไม่เท่ากับลูกของคนอื่น แต่เป็นไปตามด้านล่างนี้ จะถือว่าสมบูรณ์ ไม่ได้มีน้ำหนักผิดปกติแต่อย่างใด



วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ลูกตัวเล็ก อยากจะเพิ่มน้ำหนักตัวให้ลูกจ้ำม่ำขึ้น มาดูสาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน กินนมเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนกันก่อนเลย


1. ทารกกินนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป 

นมแม่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือนมแม่ส่วนหน้าและนมแม่ส่วนหลัง ซึ่งนมแม่ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


นมแม่ส่วนหน้า(Foremilk)


นมแม่ส่วนหลัง(Hindmilk)



ให้สังเกตการขับถ่ายของลูก ถ้าลูกอายุเกิน 1 เดือนแล้ว แต่ยังขับถ่ายบ่อย ลูกอึกะปริบกะปรอย มีฟอง น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่าลูกอาจได้รับนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป ดังนั้น ให้คุณแม่นักปั๊ม ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง นมส่วนหลังจะขยับมาทางด้านหน้ามากขึ้น ให้ลูกกินนมแม่ส่วนหลัง ส่วนนมส่วนหน้าที่่ปั๊มออกมาก่อน ให้สต็อกเก็บเอาไว้ให้ลูกกินทีหลัง  แต่สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมจากเต้า แนะนำให้คุณแม่บีบน้ำนมส่วนหน้าออกก่อนประมาณ 5 นาที แล้วค่อยเอาลูกเข้าเต้า ดูดให้เกลี้ยงเต้าทีละข้าง เท่านี้น้ำหนักตัวของลูกน้อยก็จะค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เองค่ะ


2. การแพ้อาหารผ่านนมแม่

ถ้าคุณแม่ปรับให้ลูกกินนมส่วนหลังแล้ว แต่น้ำหนักยังไม่ขึ้น ให้คำนึงถึงการแพ้อาหารผ่านนมแม่ โดยสังเกตอาการของลูกเพิ่มเติม เช่น เด็กบางคนอาจมีผื่นขึ้นที่บริเวณใบหน้า ตามข้อพับ หายใจครืดคราด ถ้ามีอาการเหล่านี้ คุณแม่อาจเริ่มจากการงดอาหารที่เสี่ยงทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ เช่น นมวัว, ไข่,ถั่ว,อาหารทะเล ฯลฯ ทีละอย่างก่อน อย่างละประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าลูกอาการดีขึ้น แสดงว่าลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ ให้คุณแม่พาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาว่ามีอาหารประเภทใดบ้างที่ทำให้ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่


3. สังเกตว่าลูกมีอาการหลับๆ ดูดๆ ไหม

หากลูกมีอาการดูดๆ หลับๆ เวลาเข้าเต้า ให้คุณแม่ปลุกลูกบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องหอตัวลูกเวลาให้นม ไม่เช่นนั้น เขาอาจจะรู้สึกสบาย จนดูดไปหลับไปและทานนมไม่พอได้   



บทความที่เกี่ยวข้อง