คุณแม่หลังคลอดอยากไปพบ “จิตแพทย์” รักษาอาการ “ซึมเศร้าหลังคลอด” ต้องทำอย่างไรบ้าง

06 Aug 19 pm31 12:06

ในยุคนี้การไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป ความคิดเชยๆ ที่ว่า ไปหาจิตแพทย์เท่ากัยเป็นบ้า ถือว่าเป็นความคิดที่ล้าสมัยสุดๆ ไปแล้วล่ะค่ะ เพราะเราต่างเข้าใจตรงกันแล้วว่า จิตแพทย์ไม่ได้รักษาอาการทางจิตเท่านั้น แต่คนปกติที่เผชิญภาวะเครียด ซึมเศร้า หรือไม่มีความสุข ก็สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้เช่นกัน



สำหรับคุณแม่หลังคลอด หลายคนต้องเผชิญกับอาการซึมเศร้าที่เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บวกกับภาระมากมายที่ต้องแบกรับ และร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่แปลกเลยค่ะ หากคุณอยากจะได้ที่พึ่งอย่าง “จิตแพทย์” มาให้คำปรึกษา เพื่อให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น หรือมีแนวทางในการรับมือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Happy Mom.Life ไม่อยากให้คุณกลัวการไปพบจิตแพทย์ แต่อยากให้คุณรักตัวเองมากๆ มากพอที่จะเดินไปหาจิตแพทย์เพื่อหาทางช่วยเหลืออย่างถูกต้องให้กับตัวคุณเอง

สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่มีอาการซึมเศร้า และอยากพบจิตแพทย์ แต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรบ้าง เรามีคำแนะนำมาฝากในวันนี้ค่ะ…


1. เปิดใจยอมรับตัวเอง

ขั้นแรก เราขอให้คุณเปิดใจยอมรับตัวเองก่อนว่า คุณกำลังไม่สบายอยู่ จะว่าไปก็เหมือนคุณเป็นหวัดนั่นแหละค่ะ ใครๆ ก็เป็นได้ทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากคุณยังไม่แน่ใจนักว่า คุณควรไปพบจิตแพทย์หรือไม่ ลองสังเกตอาการตัวเองดังนี้ก่อนก็ได้นะคะ


หากคุณมีอาการอย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ และมีข้อ 1 ข้อ 2 ร่วมด้วย มีอาการต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา เป็นทุกวัน หรือเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และไม่ใช่จากผลข้างเคียงของการใช้ยา คุณเข้าข่ายเสี่ยงเป็น “โรคซึมเศร้าหลังคลอด” ค่ะ



2. หาข้อมูลโรงพยาบาลที่เหมาะกับคุณ

เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้วว่าจะไปพบจิตแพทย์ ขั้นต่อมาคือการหาโรงพยาบาลที่เหมาะกับคุณ โดยในปัจจุบันนี้มีโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์ประจำอยู่หายแห่ง แตกต่างกันไปตามสไตล์ของแต่ละที่ วิธีการเลือกโรงพยาบาล อาจดูจากความสะดวกในการเดินทาง ค่าใช้จ่าย แจะสิ่งที่คุณต้องการได้รับ


คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน

เหมาะมากหากคุณไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะคุณจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ คุณหมอมีเวลาพูดคุยกับคุณได้อย่างเต็มที่ และสามารถพบแพทย์ท่านเดิมได้ สามารถนัดเวลาที่แน่นอนได้ ตัวอย่างโรงพยาบาลเอกชน เช่น


โรงพยาบาลรัฐ

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งที่มีจิตแพทย์ประจำโรงพยาบาล แม้การไปพบแพทย์เพื่อรักษาจะไม่สะดวกสบายเท่าโรงพยาบาลเอกชน และแพทย์มีเวลาให้เราไม่มากนัก รวมทั้งอาจไม่ได้พบแพทย์ท่านเดิมเสมอไป แต่คุณสามารถใช้สิทธิต่างๆ เช่น ประกันสังคม หรือบัตรทองได้ ตัวอย่างโรงพยาบาลรัฐที่มีจิตแพทย์ประจำอยู่ เช่น



3. โทรสอบถามโรงพยาบาลเพื่อนัดวัน

หลังจากเลือกโรงพยาบาลได้แล้ว คุณควรโทรไปสอบถามวันเวลาและนัดวันพบแพทย์ก่อนเข้าไปนะคะ เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา การนัดวันเข้าไปพบแพทย์จะทำให้คุณสะดวกสบายมากกว่า เหมาะกับแม่ลูกอ่อนที่มีเวลาไม่มากนัก


4. เรียบเรียงเรื่องราว อาการที่อยากปรึกษาจิตแพทย์

ก่อนเข้าพบจิตแพทย์ คุณควรเรียบเรียงเรื่องราวที่อยากเล่าให้คุณหมอฟัง รวมทั้งลิตส์อาการต่างๆ ที่คุณกำลังเป็นอยู่เอาไว้ด้วย เพื่อที่เมื่อได้พูดคุยกับคุณหมอแล้ว คุณสามารถบอกการได้อย่างตรงจุดค่ะ ที่สำคัญ อย่าโกหกคุณหมอนะคะ บอกเล่าความจริงทุกอย่างให้คุณหมอฟัง คุณหมอจะได้หาทางช่วยได้อย่างตรงจุดค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจากแฟนเพจ : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

กรมสุขภาพจิต https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28414


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง