เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์สัมผัสได้ว่าลูกดิ้นเป็นครั้งแรก

2018.01.24 2,263

คุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน


เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 กับการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 4 เกือบครึ่งทางของการตั้งครรภ์ ในเดือนนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง จะรู้สึกได้ว่าอาการแพ้ท้องเริ่มหายไปแล้ว ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวมากขึ้น สามารถกินอาหารได้อร่อยและกินได้มากขึ้น และที่วิเศษกว่านั้นคือจะรู้สึกและสัมผัสกับถึงการที่ลูกดิ้นเป็นครั้งแรก นั่นเป็นเพราะทารกในครรภ์เติบโตและเก่งขึ้น จนสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้มากยิ่งขึ้น


เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์สัมผัสได้ว่าลูกดิ้นเป็นครั้งแรก


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  


1.หน้าท้องขยายใหญ่อย่างเห็นได้ชัด หน้าท้องคุณแม่เริ่มขยายขนาดและโตขึ้น ซึ่งในช่วงนี้มดลูกจะมีขนาดเท่าผลส้มโอขนาดเล็ก และลอยสูงขึ้นจากอุ้งเชิงกรานเข้าสู่ช่องท้องทำให้คุณแม่สามารถคลำยอดมดลูกได้


2.รู้สึกได้ว่าลูกดิ้น เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายเดือนที่ 4 คุณแม่จะมีความรู้สึกตื่นเต้นยินดีเป็นครั้งแรก เพราะรู้สึกได้แล้วว่าลูกดิ้นเหมือนมีปลามาตอดตุบ ๆ อยู่ในท้อง แสดงถึงความแข็งแรงของทารกในครรภ์ ซึ่งจังหวะที่ลูกดิ้นนี้เอง คุณแม่ควรชี้ชวนให้คุณพ่อได้มีประสบการณ์ จากการสัมผัสและได้รู้จักกับลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้อง สร้างสายใยรักและผูกพันระหว่างกัน


ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน แต่ยังไม่ค่อยรู้สึกถึงการดิ้นของทารก หรือรู้สึกว่าทารกดิ้นน้อย ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะในเดือนที่ 4 ทารกยังมีขนาดเล็กมาก คือมีน้ำหนักประมาณ 180 กรัม และมีความยาวช่วงลำตัว (ตั้งแต่ศีรษะถึงก้น) ประมาณ 13-14 เซนติเมตรเท่านั้น ทารกจึงมีลักษณะเหมือนคนว่ายน้ำอยู่ในสระใหญ่ ๆ ลอยไปลอยมาอย่างไร้ทิศทาง กล้ามเนื้อแขนขาแม้ว่าจะมีความสมบูรณ์มากขึ้นแล้ว และหากทำการเอกซเรย์ ก็จะสามารถมองเห็นกระดูกได้อย่างชัดเจน แต่ด้วยขนาดที่เล็ก การขยับตัวแต่ละครั้งจึงไม่อาจจะสร้างแรงรับรู้ได้มากนัก


เพราะฉะนั้นในคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือนที่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ก็ไม่ต้องกังวลใจ รออีกเล็กน้อย พอเข้าเดือนที่ 5 จะรู้สึกได้มากขึ้น และยังมีการตรวจด้วยคลื่นเสียงและการตรวจละเอียดอื่น ๆ ที่จะทำให้คุณแม่ทราบสภาพความเติบโตของลูกได้อย่างชัดเจน


สัมผัสความรู้สึกลูกดิ้น


3.หัวใจเริ่มทำงานหนัก หัวใจของคุณแม่จะเริ่มทำงานหนักขึ้น เพื่อรองรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นมากในร่างกาย เนื่องจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น มดลูก ผิวหนัง และอื่น ๆ ในร่างกายคุณแม่จะต้องการเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัว


4.เส้นเลือดขอด เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขณะตั้งครรภ์ จะไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้องของคุณแม่ ความดันในหลอดเลือดจึงสูงขึ้น และทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ บริเวณโคนขา และน่องของคุณแม่ โป่งพองเป็นเส้นเลือดขอดขึ้น แต่คุณแม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอดได้ ด้วยการไม่นั่งหรือยืนห้อยขานาน ๆ นอกจากนี้เวลาคุณแม่นอน ควรหนุนเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมาที่หัวใจได้ดีขึ้น



วิธีการดูแลตัวเอง 

เข้าสู่การตั้งครรภ์เดือนที่ 4 แล้ว หรือไตรมาสที่ 2 ช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะคุณแม่จะหยุดแพ้ท้อง ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรืออยากนอนพักผ่อนเหมือนช่วง 3 เดือนแรกที่ผ่านมา และนอกจากร่างกายของคุณแม่จะผ่อนคลายแล้ว ทารกในครรภ์ก็มีร่างกายที่สมบูรณ์ และกำลังพัฒนาไปอย่างเต็มที่ เช่น สมอง ไต เส้นประสาทไขสันหลัง ตา เท้า นิ้วมือ ปอดและหัวใจ เป็นต้น และเมื่อไม่มีอาการแพ้ท้อง ในช่วงนี้ทำให้คุณแม่กินอาหารได้มากขึ้น การดูแลตัวเองในช่วงนี้ Happy Mom.Life จึงขอเน้นไปที่อาหารจำเป็นสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน ไก้แก่


1. อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผลไม้ และผักสีเขียว เพื่ออีกลดปัญหาท้องผูก ดังนั้นคุณควรเตรียมร่างกายและระบบขับถ่ายให้พร้อม เพื่อให้ร่างกายขับถ่ายได้อย่างเป็นธรรมชาติ


2. กรดไขมันที่จำเป็น เช่น โอเมก้า 3 หรือกรดไขมันที่ได้จากการกินปลาน้ำจืด ปลาทูน่า ถั่ว และ น้ำมันมะกอก การกินอาหารเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด


3. ผลิตภัณฑ์นม ไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยว นมสด นมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมจะทำให้ทารกในครรภ์ผลิตฟันและกระดูกที่แข็งแรง


4. เนื้อสัตว์ ถ้าคุณแม่ไม่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้เมื่อได้กลิ่นเนื้อสัตว์ ควรกินเนื้อสัตว์ให้ได้วันละ 1 มื้อ และต้องเป็นเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่าง ๆ


5. ผลไม้ ร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในผลไม้ ดังนั้นตลอดการตั้งครรภ์คุณควรกินผลไม้ทุกวัน หรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์


6. ธาตุเหล็ก ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงมาก ในการผลิตเลือดที่จำเป็นสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ ถ้าคุณแม่กินนอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ คุณหมอจะให้ยาบำรุงเลือดมากินเป็นอาหารเสริม

นอกจากอาหารแล้ว การออกกำลังกายก็จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี


  • เพิ่มอัตราการทำงานของหัวใจ
  • ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง
  • ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ป้องกันท้องผูกและอื่น ๆ


โดยคุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ด้วยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ การเดิน การบริหารร่างกายแบบเต้นแอโรบิกเบา ๆ การเล่นโยคะ รำไทเก็กในท่าที่ทรงตัวได้สมดุล ไม่ควรการกระโดด โหนตัว วิ่ง หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้กำลังมาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ได้



โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

โรคริดสีดวงทวาร เกิดได้จาก 2 สาเหตุ

  • มีการไหลเวียนของเลือดในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์  ทำให้เส้นเลือดดำขยายตัวมากกว่าปกติอีกทั้งปัญหามดลูกใหญ่ขึ้นไป จนกดหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณช่องท้องทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีเลือดที่ทวารก็จะปูดโปนได้ง่าย
  • ช่วงที่มดลูกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จะไปเพิ่มความดันในเส้นเลือดดำมากขึ้นด้วย รวมทั้งลำไส้ที่เคลื่อนไหวน้อยลงทำให้ท้องผูกง่ายต้อง เบ่งอุจจาระจะทำให้หลอดเลือดบริเวณนี้ไม่ให้มีอาการบวมขึ้นได้

ทั้งนี้ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังไม่ให้ท้องผูก ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ให้ได้ทุกมื้อ ดื่มน้ำมาก ๆ ขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ อย่ากลั้นโดยเด็ดขาด และควรหมั่นออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น


สัมผัสรักที่อบอุ่นจากพ่อและแม่ที่ส่งผ่านไปถึงทารก


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

อายุครรภ์ในแต่ละเดือนก็มีเรื่องให้คุณแม่ต้องระวังหรือดูแลเป็นพิเศษ เช่นเดียวกันกับในอายุครรภ์ 4 เดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการอย่างเก็นได้ชัด จะมีอะไรให้คุณแม่ต้องระวังหรือดูแลเป็นพิเศษบ้าง ไปดูกัน


1.ความดันเลือด โดยทั่วไปแล้วในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความดันเลือดจะต่ำลงเล็กน้อย จนเข้าเดือนที่ 7 ไปจนถึงการคลอดความดันเลือดจะสูงขึ้น ในกรณีที่ความดันสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมที่มือ เท้า และใบหน้า หรือตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ แสดงว่ามีอาการแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์อย่างรุนแรง หรือครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์มาก โดยปกติแพทย์จะคอยตรวจหาสิ่งผิดปกติเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว คุณแม่จึงไม่ต้องกังวลมากนัก


2.ระดับน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะอาจไม่ได้เป็นเบาหวาน เพราะในขณะตั้งครรภ์ การทำงานของอินซูลินจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เนื่องจากรกจะสร้างสารต้านอินซูลินขึ้นมา เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ผ่านเข้าไปยังทารกมากเกินไป จนอินซูลินไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงกว่าระดับปกติ และไตจะทำหน้าที่ขับออกบางส่วน และเมื่อคลอดทารกแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะกลับสู่สภาวะปกติเอง มีเพียงบางคนที่มีน้ำหนักตัวมากก็อาจจะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานต่อไปได้ในอนาคต ส่วนคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลการตั้งครรภ์ทราบ เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป


3.ภาวะเลือดจาง เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งวิธีการป้องกันนั้นง่ายมากคือ ให้เลือกกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ๆ เช่น ตับ เลือด เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ผักสี เขียวเข้ม (ร่างกายจะดูดซึมเหล็กที่มีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ดี กว่าเหล็กที่มีในอาหารประเภทพืชผัก) และอย่าลืมรับประทานยาเม็ดธาตุเหล็กที่แพทย์ให้เมื่อท่านไปรับการตรวจครรภ์


4.อาการคัดจมูกและอาจมีเลือดกำเดาออก เป็นอาการที่พบบ่อยมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในเลือดมีระดับสูง อาจมีการคั่งของเลือดบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้เกิดการบวมเช่นเดียวกับเยื่อบุปากมดลูก บางครั้งอาจมีน้ำมูกไหลลงคอ ทำให้ไอหรืออาเจียนได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันอาการเหล่านี้ได้โดยกินวิตามินซีซึ่งมีอยู่ในผัก ผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ ผักสด ฯลฯ  หรือรับวิตามินเสริมจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์เท่านั้น จะช่วยลดความเปราะบางของเส้นเลือดฝอย ทำให้อาการเลือดกำเดาออกลดน้อยลง


5.ตกขาว ในช่วงตั้งครรภ์จะมีตกขาวมากขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงช่วงก่อนคลอด ตกขาวที่มีจะเป็นลักษณะมูกใส หรือขุ่นเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็นอ่อน ๆ ทางแก้คือ เพียงแค่คุณแม่ตั้งครรภ์หมั่นรักษาความสะอาดให้เพียงพอ อย่าให้อับชื้น และไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้นิ้วสอดเข้าไปทำความสะอาดภายในใด ๆ ก็จะปลอดภัยจากการติดเชื้อ หากตกขาวมีสี หรือกลิ่นที่เปลี่ยนไป มีอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อน ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์


ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือนนี้ นอกจากความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการเดินทางท่องเที่ยว พักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศได้อย่างสบายและปลอดภัย เพราะในช่วงนี้คุณแม่หายจากอาการแพ้ท้อง วิงเวียนคลื่นไส้ และขนาดท้องคุณแม่ก็ไม่ใหญ่มากจนทำให้รู้สึกอึดอัด จึงแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงนี้ นัดแนะคุณพ่อวางแผนเที่ยวและกินอาหารต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุข

Related Tips

299,193
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,483
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,556
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips