ผลวิจัยชี้ อุ้มทารกแรกเกิดบ่อยๆ ลูกน้อยมีพัฒนาการดี ไม่มีปัญหา “ลูกติดมือ” แน่นอน

24 May 19 am31 09:43

คุณแม่ที่กำลังเลี้ยงทารกช่วง แรกเกิด – 3 เดือน อาจเกิดความกังวลสงสัยเมื่อเห็นลูกร้องไห้ให้อุ้มบ่อยๆ บางคนกลัวว่าหากอุ้มลูกทุกครั้งที่เขาร้องหาจะทำให้ลูกติดมือคุณแม่ และมีพัฒนาการที่แย่ลงได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลวิจัยชี้ชัดว่า การอุ้มลูกอายุไม่เกิน 3 เดือนบ่อยๆ กลับส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกมากกว่าผลเสีย ทำไมถึงเป็นแบบนั้น Happy Mom.Life มีคำตอบมาฝากค่ะ


ทารกอายุ 3 เดือนแรก “อุ้มได้” ลูกไม่ติดมือแม่


กุมารแพทย์อธิบายว่า เด็กทารกช่วงแรกเกิดยังไม่คุ้นเคยกับสภาพภายนอกท้องของคุณแม่ เพราะตอนที่อยู่ในครรภ์ ลูกเคยชินกับการเคลื่อนไหวลอยไปลอยมาในน้ำคร่ำ ความมืดและอบอุ่น รวมถึงเสียงเต้นของหัวใจคุณแม่ เมื่อลูกออกมาสู่โลกภายนอก เขาต้องเผชิญกับแสงจ้า อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป หากลูกถูกวางไว้เฉยๆ จะทำให้รู้สึกเคว้งคว้างและไม่ปลอดภัยได้

ช่วง 3 เดือนแรก จึงเป็นช่วงวัยที่ลูกต้องการความอบอุ่นจากอ้อมอกของแม่ตลอดเวลา ซึ่งคุณแม่ควรเข้าไปอุ้มลูกบ่อยๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าลูกจะติดมือ เพราะในช่วงอายุเท่านี้ ยังไม่เป็นวัยที่ลูกจะติดมือคุณพ่อคุณแม่ และเมื่อเขาโตขึ้น อาการร้องไห้งอแงให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มก็จะลดน้อยลงได้เองค่ะ


สำหรับทารก การร้องไห้เป็นการสื่อสารที่ดีที่สุด


นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยชี้ว่า การอุ้มลูกบ่อยๆ ในช่วง 3 เดือนแรกยังทำให้ลูกโตขึ้นเป็นเด็กที่มีพัฒนาการดี ทั้งนี้เพราะ เด็กแรกเกิดยังไม่สามารถสื่อสารความต้องการของเขาออกมาเป็นภาษาได้ การร้องไห้จึงเป็นการสื่อสารที่ดีที่สุด หากทุกครั้งที่เขาร้องไห้แล้วได้รับการตอบสนองจากคุณพ่อคุณแม่ เขาจะเกิดความรู้สึกดี ไว้ใจ ว่าเขาปลอดภัยและมีคนคอยดูแล ทำให้การร้องไห้งอแงลดน้อยลงเรื่อยๆ ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยนี่เอง ที่ส่งเสริมให้เขาเติบโตเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี มีสุขภาพจิตดี และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

แต่ในทางตรงกันข้าม หากลูกร้องไห้และถูกปล่อยปละละเลยให้เหนื่อยจนหยุดร้องไปเอง ลูกจะเกิดความรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่ปลอดภัย ส่งผลให้เขากลายเป็นเด็กขี้วิตกกังวล สุขภาพจิตไม่ดี และขาดความรัก ทำให้เขาเรียกร้องต้องการความรักจากผู้อื่นไม่สิ้นสุด



กลัว “ลูกติดมือ” อุ้มแบบไหนจึงจะพอดี


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง