“ลูกเลี้ยงยาก” พ่อแม่เหนื่อยมาก อยากให้ลูกเลี้ยงง่ายบ้าง ทำได้ไหม?

11 Jun 19 am30 10:58

คุณพ่อคุณแม่อาจเคยท้อใจว่า “ทำไมลูกเราถึงไม่เลี้ยงง่ายๆ เหมือนลูกคนอื่นบ้าง?” Happy Mom.Life อยากให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นๆ แล้วลองฟังทางนี้ก่อนค่ะ…



“ลูกเลี้ยงยาก” พ่อแม่เหนื่อยมาก อยากให้ลูกเลี้ยงง่ายบ้าง


ปัญหา “ลูกเลี้ยงยาก” เกิดจาก “พื้นฐานทางอารมณ์” (temperament) ของลูกที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งพื้นฐานทางอารมณ์นี้คือแนวโน้มของพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งทำให้เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมแตกต่างกัน แม้จะถูกเลี้ยงโดยผู้เลี้ยงคนเดียวกันก็ตาม โดยปัจจัยที่กำหนดลักษณะของ “พื้นฐานทางอารมณ์” ได้แก่ 


สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ลักษณะนิสัยตั้งแต่กำเนิดของลูกนี้จะติดตัวลูกไปตลอดชีวิต แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังสามารถปรับพฤติกรรมเด็กให้ดีขึ้นได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งท้อ!




เช็คว่าลูกเราเข้าข่ายมีปัญหา “เลี้ยงยาก” ไหม

โดยทั่วไปเราจะแบ่งการแสดงออกของเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งโดยส่วนมาก (ราวๆ 65%) จะมัลักษณะไม่เหมือนข้อใดก็ข้อหนึ่งดังนี้


วิธีเช็คว่าลูกของเราเข้าข่ายเป็นเด็กเลี้ยงยากไหม ให้ลองเปรียบเทียบเช็คกับตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ…


เด็กเลี้ยงง่าย
เด็กเลี้ยงยาก
  • อารมณ์ทั่วไปมัก ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • กินและตื่นนอนเป็นเวลา คุณพ่อคุณแม่สามารถคาดเดา วางแผนได้
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • เมื่อพบเจอสิ่งใหม่ๆ จะไม่หวาดกลัวมาก ไม่หงุดหงิด โวยวาย งอแง
  • สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย
  • มีสมาธิ จดจ่อได้ดี ไม่วอกแวกง่าย
  • ทนต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้ดี
  • อารมณ์ทั้วไปมักหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ค่อยดี
  • กิน นอนไม่เป็นเวลา คาดเดาได้ยาก
  • ตื่นตัว เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • ไม่ยอมลองทำอะไรใหม่ๆ หนี หรือไม่ให้ความสนใจกับสิ่งใหม่ๆ
  • ไม่ยอมปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ วอกแวกง่าย
  • ไม่อดทนต่อสิ่งเร้า
  • ร้องกรี๊ดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ


คุณพ่อคุณแม่ลองเปรียบเทียบพฤติกรรมของลูกจากตารางด้านต้นดูนะคะ โดย


ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกเข้าข่ายเป็นเด็กเลี้ยงยากแล้วล่ะก็ ขอให้ใจเย็นๆ เข้าไว้ก่อนนะคะ เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของใคร เราอาจต้องเจอโจทย์ยากสักหน่อย แต่เรามีวิธีผ่านปัญหานี้ไปได้ค่ะ



รับมือ “ลูกเลี้ยงยาก” ด้วยการสร้างความไว้ใจตั้งแต่ขวบปีแรก

คุณหมอแนะนำว่า เด็กในวัย 0-12 เดือน เป็นช่วงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้าง “ความไว้ใจ” ให้กับเขาว่า เขาไม่ได้โดดเดี่ยวลำพัง เมื่อไรที่เขาต้องการความช่วยเหลือ จะมีคุณพ่อคุณแม่พร้อมเข้ามาช่วยดูแลเขาเสมอ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำก็คือ ให้ความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยแก่ลูก ด้วยการอุ้ม กอดลูกบ่อยๆ เมื่อลูกร้องไห้หิวให้ป้อนนม อย่าปล่อยลูกร้องไห้งอแงโดยไม่มีใครสนใจ เพราะจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ขาดความรัก และมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อลูกเริ่มเกิดความไว้วางใจว่าพ่อแม่มีอยู่จริง และรู้สึกปลอดภัย พฤติกรรมเลี้ยงยาก งอแงบ่อยๆ ก็จะค่อยๆ ลดลงได้เองค่ะ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังต้องใจเย็นๆ และค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของลูกด้วยความเข้าใจ ไม่ใช้อารมณ์ในการเลี้ยงลูก และต้องให้เวลาเขาในการปรับตัวไปตามธรรมชาติของเขานะคะ


ข้อมูลอ้างอิง : Rakluke Bookazine

https://www.facebook.com/prasertpp/posts/441756082839558:0


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง