พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน

18 Jan 18 pm31 12:31

ในเดือนนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์จะสื่อสารถึงกันได้มากขึ้น ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวที่คุณแม่สัมผัสได้ชัดเจนขึ้น ร่างกายลูกโตช้าลง แต่อวัยวะภายในพัฒนามากขึ้น มาดูพัฒนาการทารกในครรภ์ในเดือนนี้กันค่ะ



พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน



อายุครรภ์ 23 สัปดาห์

ลักษณะของลูกดูเหมือนทารกใกล้คลอด แต่ผิวหนังยังดูเหี่ยวย่น ร่างกายของลูกกำลังสร้างไขมันใต้ผิวหนังอยู่ แต่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายของทารกดูเล็กและผอม ปอดเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกหายใจ แต่ทารกยังได้ออกซิเจนผ่านรกของแม่อยู่ การได้ยินของทารกจะดีขึ้น แต่จะได้ยินเสียงทุ้มต่ำมากกว่าเสียงแหลมสูง


 

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์

ในช่วงสัปดาห์นี้ ผิวหนังของทารกในครรภ์ยังบางและดูโปร่งแสงอยู่ ศีรษะยังคงใหญ่ แต่ร่างกายของลูกก็เติบโตมากขึ้น การได้ยินของลูกพัฒนาดีแล้ว ลูกจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกภายนอกมากขึ้นด้วยค่ะ



อายุครรภ์ 25 สัปดาห์

ผิวหนังของทารกในช่วงนี้เริ่มเรียบตึงมากขึ้น แต่ยังบางอยู่ อวัยวะเพศได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว ปอดของทารกพัฒนาเพื่อเตรียมหายใจด้วยตัวเอง แต่ยังรับออกซิเจนจากแม่อยู่ หากมีการคลอดลูกในช่วงนี้ จะมีโอกาสรอดชีวิต



อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ 

ปอดของลูกน้อยเจริญเกือบเต็มที่แล้ว โดยปอดของทารกจะมีการขยับขึ้นลงเป็นการเตรียมพร้อมการหายใจด้วยตัวเอง ผิวหนังยังสะสมไขมันอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้คุณหมอจะฟังเสียงหัวใจทารก หากเต้นประมาณ  140-160 ครั้งต่อนาที แปลว่าทารกมีสุขภาพแข็งแรง



อายุครรภ์ 27 สัปดาห์

ทารกในครรภ์เริ่มมีรูปร่างอวบขึ้นจากการสร้างไขมัน ทารกเริ่มตื่นนอนตามเวลา อวัยวะทำงานเกือบสมบูรณ์ แต่ปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากนัด หากคลอดลูกช่วงนี้โอกาสรอดชีวิตสูง แต่ยังต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์



คุณพ่อคุณแม่สามารถดูพัฒนาการเด่นของทารกตั้งแต่เดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 6 ได้จากตารางนี้เลยค่ะ



เดือนพัฒนาการเด่น
เดือนที่ 1
  • เกิดการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่
  • ไข่เดินทางไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
  • เกิดการเริ่มต้นแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์

เดือนที่ 2
  • ขนาดตัวยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร
  • สามารถตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำ- หัวใจของทารกเริ่มเต้น
  • อวัยวะต่างๆ เริ่มเจริญเติบโต

เดือนที่ 3
  • ลำตัวยาวยาวประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร
  • อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงาน
  • ทารกเคลื่อนไหวได้

เดือนที่ 4
  • ลำตัวยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร
  • สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นจากเครื่องฟังหน้าท้อง- ระบุเพศได้ชัดเจนขึ้น
  • เริ่มเห็นกระดูกของลูกจากการเอ็กซเรย์

เดือนที่ 5
  • ลำตัวยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร
  • สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นจากเครื่องฟังหน้าท้อง- ระบุเพศได้ชัดเจนขึ้น
  • เริ่มเห็นกระดูกของลูกจากการเอ็กซเรย์

เดือนที่ 6
  • ลำตัวทารกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • ลูกน้อยสัมผัสโลกภายนอกได้มากขึ้น
  • หากคลอดลูกในช่วงเดือนนี้อาจจะมีโอกาสรอดชีวิต



สำหรับเดือนต่อไปจะเป็นเดือนที่สำคัญมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย อย่างไรบ้างนั้น เรามาดูพัฒนาการในเดือน 7 ของลูกน้อยกันค่ะ


พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน