พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน

18 Jan 18 pm31 13:06

ในเดือนนี้เป็นช่วงที่พัฒนาการทารกพร้อมแล้ว ทำให้หากทารกคลอดออกมาในเดือนนี้จะยังมีโอกาสรอดชีวิต แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ และยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูพัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงเดือนนี้พร้อมๆ กันได้เลยค่ะ



พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน



อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

ผิวหนังของทารกในครรภ์เป็นสีแดง มีไขหุ้มทั้งตัว ทารกสามารถสื่อความรู้สึกให้แม่รู้ได้ด้วยการดิ้น หรือเตะท้องแม่ คุณแม่สามารถรับรู้ได้เมื่อลูกสะอึก ลูกชอบดูดนิ้วและมีการได้ยินที่ดีขึ้น



อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ 

ทารกในครรภ์สามารถกะพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงที่เห็น ยังคงยืด งอ แขนและขารวมทั้งเตะได้ แต่พื้นที่ในมดลูกของคุณแม่เริ่มคับแคบลง เพราะขนาดร่างกายของทารกที่ใหญ่ขึ้น หากทารกคลอดออกมาในช่วงนี้ ยังต้องอยู่ในตู้อบเพื่อให้ความอบอุ่น



อายุครรภ์ 30 สัปดาห์

รูปร่างของทารกจะดูอ้วนท้วนขึ้น อาจมีการเตะ หรือหัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน สมองเติบโตอย่างรวดเร็ว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น



อายุครรภ์ 31 สัปดาห์

ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วขึ้น หากคุณแม่สังเกตว่าลูกดิ้นมาก แปลว่าทารกสุขภาพแข็งแรง ปอดของทารกพัฒนาจนเกือบสมบูรณ์ ทำให้หากทารกคลอดออกมาในช่วงนี้ โอกาสรอดชีวิตจะสูงมากขึ้นด้วย คุณแม่จะสังเกตช่วงเวลาที่ลูกหลับและตื่นได้ง่ายขึ้น


สำหรับพัฒนาการเด่นของทารกในครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 7 คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ค่ะ


เดือนพัฒนาการเด่น
เดือนที่ 1
  • เกิดการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่
  • ไข่เดินทางไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
  • เกิดการเริ่มต้นแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์
เดือนที่ 2
  • ขนาดตัวยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร
  • สามารถตรวจเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำ- หัวใจของทารกเริ่มเต้น
  • อวัยวะต่างๆ เริ่มเจริญเติบโต
เดือนที่ 3
  • ลำตัวยาวยาวประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร
  • อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงาน
  • ทารกเคลื่อนไหวได้
เดือนที่ 4
  • ลำตัวยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร
  • สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นจากเครื่องฟังหน้าท้อง
  •  ระบุเพศได้ชัดเจนขึ้น
  • เริ่มเห็นกระดูกของลูกจากการเอ็กซเรย์
เดือนที่ 5
  • ลำตัวยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร
  • สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นจากเครื่องฟังหน้าท้อง
  • ระบุเพศได้ชัดเจนขึ้น
  • เริ่มเห็นกระดูกของลูกจากการเอ็กซเรย์
เดือนที่ 6
  • ลำตัวทารกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • ลูกน้อยสัมผัสโลกภายนอกได้มากขึ้น
  • หากคลอดลูกในช่วงเดือนนี้อาจจะมีโอกาสรอดชีวิต
เดือนที่ 7
  • ลำตัวทารกยาวประมาณ 35 เซนติเมตร
  • อวัยวะต่างๆ ทำงานเกือบสมบูรณ์
  • รูปร่างของทารกอ้วนท้วนขึ้น
  • เปลือกตาเริ่มเปิด ทารกมองเห็นแสงที่ผ่านท้องแม่ได้



เดือนนี้ถือเป็นเดือนที่มีความหมายมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังรอพบหน้าลูกน้อย สำหรับเดือนต่อไป จะยิ่งเข้าใกล้ความเป็นจริงเข้าไปอีก ไปดูพัฒนาการของลูกน้อยในเดือนถัดไปกันเลยค่ะ


พัฒนาการทารก ช่วงอายุครรภ์ 8 เดือน