เลี้ยงลูกถูกวิธีในยุค 4.0 ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

22 Jan 18 pm31 16:29

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบัน สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ได้กลายมาเป็นเครื่องฆ่าเวลา เพื่อนคลายเหงา หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ยิ่งในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ได้ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับเด็กอย่างกว้างขวาง แต่รู้หรือไม่ว่า...

เด็กแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี ยังไม่สามารถแปลงภาพและเสียงที่พบเห็น และได้ยินจากสื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทมาเป็นความรู้ที่จะใช้กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วยตนเอง


เด็กวัยนี้เป็นวัยที่สมองมีการเจริญเติบโต ทำให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกล้ามเนื้อ ภาษา สติปัญญา และด้านอารมณ์ สังคม เด็กวัยนี้จะต้องเรียนรู้ โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ภายใต้การสอน การนอน การแยกแยะสิ่งถูกผิด การคุ้มครองอันตรายโดยผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด

เพื่อให้พ่อแม่ดูแลลูกในวัยที่กำลังเจริญเติบโตและพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ทุกเมื่อ Happy Mom.Lifeมีข้อมูลการศึกษาวิจัยจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้พ่อแม่นำไปปรับใช้ในการดูแลลูกรักให้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกทาง



ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงลูกด้วยมือถือที่คุณแม่มือใหมม่ต้องใส่ใจ

goodtoknow.media.ipcdigital.co.uk



เด็กแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น


ในการศึกษาวิจัยของ นายแพทย์วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เด็กได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 1 เดือนครึ่ง เมื่ออายุ 1 ปี ได้รับถึงร้อยละ 99.7 และได้รับเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 5 ชั่วโมงต่อวันที่อายุ 18 เดือน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นทีวี แต่แนวโน้มจะมีการดูรายการทีวี เพลง การ์ตูนผ่านระบบอินเตอร์เนต สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมากขึ้นอย่างรวดเร็ว



สื่ออิเล็กทรอนิกส์กระทบสมองและพัฒนาการของเด็ก


การวิจัยยังพบอีกว่า เด็กที่ได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 6-18 เดือน มีพฤติกรรมการแยกตัว การต่อต้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการได้รับสื่อสำหรับผู้ใหญ่

ผลต่อพฤติกรรมด้านภาษาพบว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสื่อการศึกษา ถูกออกแบบมาให้ส่งเสริมการพูด การใช้ภาษาที่ชัดเจนให้กับเด็กปฐมวัย จะสามารถช่วยพัฒนาการด้านภาษาของเด็กได้ แต่การดูรายยการบันเทิงทั่วไปเป็นระยะเวลายาวนานต่อวัน กลับมีผลให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กล่าช้า

ผลต่อพัฒนาการด้านการใช้สมองระดับสูงในการแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์พบว่า เด็กที่ใช้สื่อเป็นระยะเวลายาวนานจะทำให้ความสามารถระดับสูงล่าช้า ความสามารถของสมองระดับสูงจะส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงาน การดำเนินชีวิตในครอบครัวและสังคม

ผลต่อการนอนพบว่า สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง และได้รับช่วงหัวค่ำ จะทำให้มีปัญหาการนอนในเด็กปฐมวัย

ผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวพบว่า เด็กที่ได้รับสื่อที่มีความรุนแรง นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว นอกจากนั้นการศึกษาที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ยังพบอีกว้า การใช้สื่อที่มีความรุนแรงเป็นระยะเวลานาน มีความสัมพันธ์กับภาวะซนและสมาธิสั้น



การเลี้ยงลูกด้วยมือถือในทางที่ผิดเกิดปัญหาได้

parents.com



เพราะพ่อแม่ เด็ก หรือใครที่ทำให้เด็กใช้สื่อนานเกินควร


มีหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กใช้สื่อนานและมีผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการ ปัจจัยจากตัวเด็กเอง เช่น เด็กที่มีพื้นฐานทางอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ ทำให้เด็กใช้สื่อมาก ปัจจัยจากตัวพ่อแม่ เช่น พ่อแม่ที่ใช้สื่อมาก พ่อแม่เลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ตามใจ ทำให้เด็กใช้สื่อมาก รายการผู้ใหญ่ รายการความรุนแรง หรือรายการบันเทิงที่ไม่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ การปล่อยให้เด็กดูคนเดียว ไม่มีการพูดสื่อสารระหว่างดู และใช้สื่อในห้องนอน เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการ



การเลี้ยงลูกด้วยมือถือเรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องระวังก่อนเกิดปัญหา

 novakdjokovicfoundation.org



พ่อแม่ต้องรู้ เพื่อการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องเหมาะสมของลูกรัก




นอกจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่พ่อแม่ต้องให้ความระมัดระวัง ให้ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว พ่อแม่ควรส่งเสริมการออกกำลังกาย เล่นตามวัน อ่านหนังสือ และมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กอื่นอย่างพอเพียง เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านสมองและพัฒนาการด้านอื่น ๆ อย่างสมวัยนะคะ