สร้างเกราะป้องกัน เสริมภูมิคุ้มภัย สอนลูกให้รู้จักป้องกันตัวเองจากการถูกแกล้ง

30 Nov 18 pm30 14:56

เมื่อถึงวัยที่ลูกต้องเข้าโรงเรียน คุณแม่ก็มีเรื่องที่ทำให้ต้องอดห่วงไม่ได้อยู่หลายเรื่องนะคะ แม้จะมีคุณครูคอยดูแลอยู่ก็ตาม แต่ไกลหูไกลตาคุณแม่แบบนี้ ก็อดห่วงไม่ได้จริง ๆ ยิ่งถ้าเกิดลูกถูกเพื่อนรังแกหรือถูกแกล้ง กลับบ้านมาเศร้า ๆ ซึม ๆ คงไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรจะสอนลูกให้รู้จักป้องกันตัวเองจากการถูกแกล้ง รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกเพื่อเป็นเกราะป้องกัน Happy Mom.Life มีคำแนะนำมาฝากคุณแม่กันค่ะ   


ปัญหาเด็กถูกแกล้งที่โรงเรียน

MyStoryBin.com


ทุกวันนี้การกลั่นแกล้งหรือรังแกกันในโรงเรียน (Bullying) มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งตามสื่อต่าง ๆ ถือเป็นพฤติกรรมรุนแรงอย่างหนึ่ง โดยพฤติกรรมที่พบได้มีตั้งแต่

  1. การข่มเหงรังแกทางกาย พบเห็นได้บ่อยในทุกโรงเรียน เช่น การผลัก ต่อย หยิก ดึงผม ใช้อุปกรณ์แทนอาวุธในการข่มขู่
  2. การข่มเหงรังแกทางอารมณ์ เช่น การล้อเลียนหรือทำให้รู้สึกอับอาย การกีดกันออกจากกลุ่ม การเพิกเฉย ทำเหมือนไม่มีตัวตน
  3. การข่มเหงรังแกทางคำพูด เช่น การใช้คำหยาบคายหรือดูถูก เหยียดหยาม
  4. การข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ต เช่น ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กล่าวหาหรือใส่ความให้ได้รับความอับอาย


กลั่นแกล้งเพื่อนที่โรงเรียน

eduworld.sk


ผลกระทบของการข่มเหงรังแกกันในโรงเรียน จะทำให้เด็กที่ถูกรังแก มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เพิ่มความรู้สึกโดดเดี่ยว การกินการนอนผิดปกติ ไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งปัญหานี้อาจยังคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ รวมถึงมีผลการเรียนลดลง หรือต้องออกจากโรงเรียน ตลอดจนมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้รังแกคนอื่นในอนาคต

ขณะที่เด็กที่ชอบรังแกผู้อื่นจะมีความเสี่ยงใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเมื่อเป็นวัยรุ่น รวมทั้งชอบทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน และอาจต้องออกจากโรงเรียน เสี่ยงทำผิดกฎหมาย ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายคู่สมรสและบุตรเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้


สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกที่โรงเรียน

medicaldaily.com


เห็นไหมคะว่าไม่ว่าจะเป็นคนที่ถูกรังแกหรือเป็นคนที่รังแกคนอื่นก็อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ทั้งนั้น ดังนั้นเพื่อป้องกันผลเสียในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น ทั้งคุณแม่และคุณครู สามารถจะสอนให้เด็กสามารถดูแลป้องกันตัวเองจากการถูกแกล้ง

ถ้าเพื่อนแกล้งให้บอกครูประจำชั้น ไม่อยู่คนเดียว ไม่ตอบสนองอีกฝ่ายที่จะทำให้เกิดการกลั่นแกล้งเพิ่มมากขึ้น หรือกำหนดให้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลา เนื่องจากในโลกโซเชียลมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาจมีคลิปที่เด็กสามารถเลียนแบบได้ โดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี โรงเรียนต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง มีการพูดคุย ห้ามปราม ตลอดจนปกป้องเด็ก


ดูแลตัวเองเป็นเมื่อถูกแกล้ง

Experto.de


และสิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรอบรมสั่งสอนลูกให้รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ สิ่งไหนที่ห้ามทำ สังคมไม่ยอมรับ มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้พวกเขาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะก่อนอายุ 10 ปี ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีความยับยั้งชั่งใจ แยกผิดชอบชั่วดีได้ ลดพฤติกรรมการเลียนแบบที่อาจทำให้เกิดความชินชากับความรุนแรงได้


หยุดแกล้งกันเพื่อลดปัญหา

hher24.com


 สอนลูกให้รู้จักป้องกันตัวเองจากการถูกแกล้ง อาจต้องใช้เวลาในการสอนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจให้ลูก คงต้องให้เวลาลูกในการปรับตัว และหลังจากนั้นควรติดตามผลอย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับคุณครูประจำช้ำของลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ได้รับรู้ปัญหาและหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน