ลูกชอบกัดคนอื่น พฤติกรรมนี้ต้องแก้ก่อนจะเป็นปัญหา

09 Feb 18 pm28 13:40

ธรรมชาติของพัฒนาการเด็กเป็นเรื่องมหัศจรรย์ คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกเป็นปลื้ม ตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้เห็นลูกน้อยค่อยๆ เติบโตไปตามพัฒนาการตามวัยของพวกเขา แต่ก็อาจจะต้องยอมรับว่า มีพัฒนาการเด็กในบางช่วงที่ไม่ค่อยน่าปลื้มเท่าไหร่ และคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใส่ใจ ยื่นมือเข้าไปแก้ปัญหาที่เกิดจากพัฒนาการตามวัยในช่วงนั้นของลูกรัก 

ยกตัวอย่างเช่น นิสัยชอบกัด ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่และมือเก่าทุกคนจะได้เจอ บางทีอาจจะโดนลูกรักกัดจนเป็นแผลเต็มตัว หรือวันดีคืนดีอาจจะต้องมานั่งกุมขมับ เพราะลูกรักไปกัดเพื่อน พี่น้อง คนอื่นก็เป็นได้ Happy Mom.Life จึงขอนำเสนอวิธีแก้ปัญหาลูกรักชอบกัดคนอื่น พูดเลยว่า แก้ได้ค่ะ แต่ต้องใจเย็นเป็นน้ำเลยล่ะ


familist.ro

นิสัยชอบกัดคนอื่น เป็นนิสัยตามพัฒนาการเด็กที่พบได้ในเด็กวัยประมาณ 1-3 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มเรียนรู้ว่าการกระทำของเขาส่งผลต่อคนอื่นได้

สาเหตุที่เด็กวัยนี้ชอบกัด อาจเกิดได้หลายสาเหตุค่ะ เช่น


เด็กอาจกัดเพราะเรียกร้องความสนใจ

sweeps1298.forward-a-server33.loan


  ทำอย่างไร เมื่อลูกรักกลายเป็นเด็กชอบกัด

แน่นอนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลแก้ไข ก่อนจะกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรงในอนาคต หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกอยู่ในวัยชอบกัด คุณพ่อคุณแม่อาจจะลดพฤติกรรมของลูก และแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้


1. ไม่ดุหรือทำโทษลูกแรงๆ

เมื่อลูกรักไปกัดคนอื่น หรือแม้แต่กัดคุณพ่อคุณแม่เองก็ตาม คุณพ่อคุณแม่อย่าอารมณ์เสีย ดุด่าว่ากล่าว ตีหรือทำโทษลูกแรงๆ นะคะ เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไร แต่ให้รอจนลูกอารมณ์สงบแล้วถามถึงสาเหตุ ค่อยๆ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำไม่ดีอย่างไร เด็กๆ จะค่อยๆ เรียนรู้เหตุผลของคุณพ่อคุณแม่ได้ค่ะ


2. ไม่ละเลยเด็กที่ถูกลูกกัด

ในบางกรณี ลูกรักของเราอาจไปกัดเด็กคนอื่น หรือแม้แต่พี่น้องของตัวเอง คุรพ่อคุณแม่ต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก อย่าใส่ใจเพียงแค่ลูกที่ไปกัดคนอื่น แต่ต้องให้ความสำคัญกับเด็กที่ถูกกัดด้วย โดยต้องเข้าไปดูแล ปลอบโยน และอาจพามาคุยกันด้วยเหตุผลพร้อมกับลูกของเรา ในกรณีที่เด็กทะเลาะกัน ยิ่งหากเป็นพี่น้องแล้ว การที่คุณพ่อคุณแม่สนใจแต่คนใดคนหนึ่งมากเกินไป อาจสร้างบาดแผลทางใจให้ลูกอีกคน ทำให้ลูกเกลียดกันได้ค่ะ


3. สอนให้ลูกรู้จักขอโทษ

ไม่ว่าที่มาของการทะเลาะกันจะเป็นอย่างไร แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักขอโทษคนที่ลูกไปกัดเขาเสมอ เพื่อให้ลูกรักได้รู้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี และไม่ควรทำ โดยอาจยกตัวเองให้เขาเห็นภาพว่า หากลูกถูกเพื่อนกัด ลูกก็เจ็บเหมือนกัน ดังนั้นอย่าทำแบบนี้กับคนอื่น


4. นิ่ง สงบ สยบเด็กชอบกัด            

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เป็นฝ่ายถูกกัดเสียเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามนิ่งเข้าไว้ อาจแสดงสีหน้าเจ็บปวด แต่ต้องไม่แสดงท่าทีตกใจ และให้แสดงให้เห็นว่า หากลูกกัด จะถูกเพิกเฉยเป็นการลงโทษ เด็กๆ จะค่อยๆ เรียนรู้ว่าการกระทำแบบนี้ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างที่เขาต้องการ และจะค่อยๆ เลิกได้เองค่ะ


5. ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ

เด็กที่พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจจะเกิดความเครียด หงุดหงิด อารมณ์เสียได้ง่าย ส่งผลให้เด็กๆ อาจแสดงออกด้วยการกัดคนอื่นได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยใส่ใจดูแลอารมณ์ของลูกน้อย ให้เด็กๆ กินอิ่ม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และฝึกให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดีเสมอ


6. ใส่ใจและให้ความรักกับลูก

บางครั้งเด็กๆ ก็แสดงพฤตอกรรมก้าวร้าวด้วยการกันคนอื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ แต่หากเด็กๆ ได้รัยความรักความเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างเพียงพอแล้ว ก็ย่อมสามารถลดพฤติกรรมเหล่านั้นได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยให้ความรักความใส่ใจ หมั่นโอบกอด แสดงความรักกับลูกน้อยเสมอ ก็จะช่วยให้ลูกรักจิตใจมั่นคง และลดพฤติกรรมลบๆ แบบนี้ได้ค่ะ


โดยธรรมชาติแล้ว พฤติกรรมชอบกัดคนอื่นของลูกรักนั้น สามารถหายไปได้เองเมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 2-3 ขวบ เพราะลูกจะเริ่มมีพัฒนาการตามวัย มีกิจกรรมอื่นๆ ให้สนใจมากขึ้น และเรียนรู้เรื่องการแสดงความรู้สึกได้ดีขึ้นด้วยค่ะ อย่างไรก็ตาม หากเลยวัย 3 ขวบไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้ไม่หายไป คุณพ่อคุณแม่อาจลองพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อแก้ไขพฤติกรรมต่อไปค่ะ