อยากมีลูก แต่มียาก คิดอยากอุ้มบุญ ปฏิบัติแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย

28 Mar 18 pm31 16:26

จากคู่รัก เปลี่ยนสถานะมาเป็นสามีภรรยา กระทั่งตกลงปลงใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน และเพื่อเติมเต็มชีวิตคู่และคำว่าครอบครัวให้สมบูรณ์ คู่สามีภรรยาก็เลยคิดวางแผนว่าจะมีลูกมาเป็นโซ่ทองคล้องใจ แต่พยายามมาสักระยะก็ยังไม่สมหวัง แบบนี้เข้าข่ายผู้มีบุตรยากหรือเปล่านะ ถ้าอย่างนั้นมาทำความเข้าใจคำว่าภาวะมีบุตรยากกันก่อน 


ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือน ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป


อยากมีลูก แต่มียาก คิดอยากอุ้มบุญ ปฏิบัติแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย


หลังจากพยายามทางการแพทย์มาแทบทุกวิธี แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อเป็นเช่นนี้ "การอุ้มบุญ" จึงเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นความหวังของคุณแม่ที่มีภาวะมีบุตรยาก เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอุ้มบุญอย่างเคร่งครัด Happy Mom.Life มีข้อมูลที่ถูกต้องมาฝากกัน สำหรับสามีภรรยาที่กำลังคิดอยากอุ้มบุญ ปฏิบัติแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย  


การอุ้มบุญ คือการให้หญิงคนอื่นตั้งครรภ์จากการปฏิสนธิภายนอกร่างกายแทนคู่สามีภรรยาที่ไม่สามารถมีลูกได้ การปฏิสนธิอาจใช้สเปิร์มและไข่จากคู่สามีภรรยาดังกล่าว หรือเป็นสเปิร์มหรือไข่จากคนใดคนหนึ่งผสมกับสเปิร์มหรือไข่ที่ได้รับบริจาคจากผู้อื่น แล้วจึงนำตัวอ่อนฝังเข้าไปในมดลูกของหญิงที่อุ้มบุญ ซึ่งทารกที่คลอดออกมาถือเป็นบุตรของคู่สามีภรรยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


อุ้มบุญโดยให้หญิงคนอื่นตั้งครรภ์แทน


ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติอุ้มบุญ


• ห้าม 

- เลือกเพศ

- ซื้อ/ขาย/ส่งออ/นำเข้าอสุจิ ไข่ ตัวอ่อน

- รับจ้างตั้งท้อง

- โฆษณา

- โคลนนิ่ง

- มีคนกลาง/เอเจนซี่

- คู่สมรสต่างชาติทั้งคู่ ดำเนินการตั้งครรภ์แทน

- ห้ามปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน


• มี

- การรับรองมาตรฐานของโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ให้บริการ

- แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

- เครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน


• ขออนุญาต

- ให้รับรองมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

- ให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทน

- ให้มีการวินิจฉัยตัวอ่อนที่เหลือใช้จากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์       


มีลูกสมใจและไม่ผิดกฎหมาย


ทั้งนี้ หากมีการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ขออนุญาตจะต้องเป็นคู่สมรสชาวไทยที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย หรือคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติอย่างน้อย 3 ปีเท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมาย จะต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย


สำหรับบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 จะแบ่งตามลักษณะการกระทำผิด