คุณแม่ตั้งครรภ์กับ “ภาวะรกเกาะต่ำ” อันตรายแค่ไหนนะ?

24 Aug 18 am31 07:37

ระหว่างการตั้งครรภ์อาจมีปัญหามากมายเกิดขึ้นให้คุณแม่ใจตุ๊มๆ ต่อมๆ อยู่เรื่อยเลยใช่ไหมล่ะคะ หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งคุณแม่หลายคนอาจต้องเผชิญก็คือ ปัญหาเรื่องรกเกาะต่ำ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนกลุ้มใจ และไม่มั่นใจว่ามันอันตรายมากน้อยแค่ไหน วันนี้Happy Mom.Life จึงอยากชวนคุณแม่ตั้งครรภ์มาทำความรู้จักกับภาวะรกเกาะต่ำนี้กันค่ะ



คุณแม่ตั้งครรภ์กับ “ภาวะรกเกาะต่ำ” อันตรายแค่ไหนนะ?

elements.envato.com



รก หรือ Pacenta เกิดขึ้นจากไข่ของแม่ที่ผสมแล้วและจะเจริญเติบโตไปพร้อมๆ กับทารกในครรภ์ รกเป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากคุณแม่มาเลี้ยงทารก โดยปกติแล้ว รกจะเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของมดลูก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากรกเกาะตัวต่ำลงมาบริเวณส่วนล่วง หรือคลุมไปถึงปากมดลูก เราจะเรียกภาวะนี้ว่า “รกเกาะต่ำ” นั่นเองค่ะ



ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายแค่ไหน?


อาการที่มักเกิดขึ้นจากภาวะรกเกาะต่ำนั้น โดยส่วนมากคือ อาการเลือดไหลออกจากช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ภาวะนี้เกิดจากขอบของรกซึ่งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากแยกตัวออกจากผนังมดลูก เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่มากขึ้น ปากมดลูกเริ่มขยายออก ภาวะนี้จึงมักเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ขึ้นไป แต่บางคนก็อาจมีอาการก่อนหน้านั้นได้เช่นกัน

อาการเลือดออกจากภาวะรกเกาะต่ำนี้ ในช่วงแรกๆ เลือดจะออกไม่มากนัก และสามารถหยุดเองได้ค่ะ แต่ในครั้งต่อๆ ไป หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกมาก อาจจทำให้เกิดภาวะซีดและอันตรายได้ โดยคุณแม่อาจช็อค หรือถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตในครรภ์ได้ ภาวะรกเกาะต่ำจึงเป็นอีกหนึ่งภาวะที่อันตรายหากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ



ความรุนแรงของภาวะรกเกาะต่ำ


แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของภาวะรกเกาะต่ำในคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนก็ไม่เท่ากันนะคะ โดยภาวะรกเกาะต่ำมักแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ


ภาพแสดงตำแหน่งของรก



จะป้องกันภาวะรกเกาะต่ำได้อย่างไร?


ภาวะรกเกาะต่ำนั้นเป็นภาวะที่ควบคุมไม่ได้ค่ะ สิ่งที่เราทำได้ก็คือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง การไม่มีลูกมากจนเกินไป (เนื่องจากภาวะนี้มักเกิดกับผู้หญิงที่มีลูกหลายคน) ไม่สูบุหรี่ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำเพื่อลดอันตรายจากภาวะรกเกาะต่ำก็คือ ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะการดูแลรักษาภาวะรกเกาะต่ำนี้ คุณหมอจะทำการพิจารณาเป็นกรณีไป การพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจึงสำคัญ ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ปลอดภัยแล้ว ลูกน้อยในครรภ์ก็จะปลอดภัยด้วยเช่นกันค่ะ