คุณแม่เตรียมพร้อม ทารกในครรภ์ส่งสัญญาณเตือนใกล้คลอด

2018.09.13 35,247

คุณแม่ตั้งครรภ์ 9 เดือน


เข้าสู่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ ใกล้เวลาที่เจ้าตัวเล็กจะออกมาดูโลกภายนอกกันแล้ว Happy Mom.Life ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่มือใหม่ล่วงหน้า และสำหรับในเดือนที่ 9 นี้ คุณแม่ก็มีเรื่องให้เตรียมตัวอยู่ด้วยกันหลายเรื่องด้วยกัน รวมถึงต้องคอยสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกให้รู้ว่าใกล้คลอดแล้ว เพื่อเตรียมสภาพร่างกาย และสภาพจิตใจให้พร้อมสำหรับการคลอด


คุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


1.ท้องลด ในช่วงใกล้คลอดนี้ ทารกในครรภ์จะปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพพร้อมคลอด โดยในการคลอดท่าปกติ ศีรษะของทารกจะเริ่มเคลื่อนต่ำลงไปในอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอด หรือกรณีที่เอาก้นลง ส่วนก้นของทารกก็จะเคลื่อนสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกส่วนล่างขยายตัวเรียกว่าหัวลงต่ำ และสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ว่าท้องลด คือการที่ท้องของคุณแม่ลดต่ำลง ในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจสะดวกขึ้น

2.จุกเสียด แสบร้อนกลางอก มดลูกของคุณแม่ที่ขยายตัวขึ้นตามขนาดของทารกในครรภ์ที่โตขึ้นจนทำให้ดันกระเพาะอาหารและลำไส้คุณแม่ให้สูงขึ้น ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทำให้คุณแม่มีอาการแสบร้อนกลางอกได้ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยมื้อ และหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรนอนทันที ให้นั่งพักก่อนสักครู่ ช่วยป้องกันอาการแสบร้อนกลางอก และจุกเสียดได้

3.นอนไม่หลับ เดือนที่ 9 นี้ คุณแม่ยิ่งใกล้คลอดจะยิ่งมีความวิตกกังวลมากขึ้น บวกกับขนาดท้องที่โตมากขึ้น ยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว แถมบางทีทารกในครรภ์ยังดิ้นแรง ทำเอาคุณแม่นอนไม่หลับได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย สลัดความวิตกกังวลเรื่องต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจ และรับมือกับอาการนอนไม่หลับนี้โดยหาเวลางีบหลับบ้างในช่วงกลางวัน และอาจใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนระหว่างขาทั้งสองข้างให้สูงกว่าลำตัว ท่านอนในลักษณะนี้จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายยิ่งขึ้น 


วิธีการดูแลตัวเอง


เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว วิธีการดูแลตัวเองของคุณแม่ นอกจากการดูแลที่ทำอย่างสม่ำเสมอตลอด 8 เดือนที่ผ่านมาแล้ว ในเดือนที่ 9 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้คลอด นอกจากจัดกระเป๋าเตรียมคลอดแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยการเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม


ช่วงเวลาดี ๆ ของคุณแม่และทารกน้อย


1.ฝึกเทคนิคผ่อนคลายเจ็บท้องใกล้คลอด วิธีนี้เป็นการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อ โดยเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการฝึกให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อย ๆ คลายออก เริ่มจากการฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อไปทีละส่วน ตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศีรษะ ฝึกเกร็งและคลาย เกร็งและคลาย ตั้งแต่เท้า ขา กล้ามเนื้อสะโพก หน้าท้อง หน้าอก มือ แขน ฯลฯ

2.ฝึกควบคุมการหายใจเพื่อเตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ การฝึกลมหายใจให้ถูกจังหวะจะช่วยผ่อนอาการเจ็บปวดขณะคลอดได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการหายใจมีได้หลายวิธี เช่น ในระยะมดลูกเริ่มหดตัว ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ และผ่อนคลายออกทางปากช้า ๆ 2 ครั้ง และการฝึกเบ่งเมื่อระยะมดลูกหดตัวแรงขึ้น ซึ่งทำได้โดยฝึกหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุด กลั้นหายใจปิดปาก แล้วเบ่งลงข้างล่างบริเวณช่องคลอด ขณะเบ่งนับ 1-10 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปาก และหายใจเข้าเบ่งต่อ ควรฝึกทำ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและชำนาญ

3.อ่านหนังสือ ฟังเพลงทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เพราะความเครียดและวิตกกังวลนั้นไม่ส่งผลดีกับทารกในครรภ์ ดังนั้นช่วงนี้ถ้าคุณแม่เกิดอาการเครียด ควรหากิจกรรมเบา ๆ หรือการอ่านหนังสือ ฟังเพลงที่ชอบให้ผ่อนคลาย เพื่อเตรียมตัวสำหรับคลอด


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง


เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดแล้ว โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังของคุณแม่ในเดือนนี้ก็ยังคงเหมือนกับเดือนก่อน ๆ ที่ผ่านมา แต่ที่ควรใส่ใจให้มากในเดือนที่ 9 นี้ก็คือการเจ็บท้องคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ท้องเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะยังแยกไม่ออกระหว่างเจ็บท้องคลอดเตือนกับเจ็บท้องคลอดจริงว่าแตกต่างกันอย่างไร 

เจ็บท้องคลอดเตือน คือ เกิดจากการที่มดลูกขยายตัวเต็มที่ และเคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมคลอด จนมีอาการหดเกร็งตัวเป็นบางครั้ง ซึ่งอาการแสดงของเจ็บท้องเตือนมีดังนี้

  • คุณแม่จะรู้สึกเจ็บท้อง ท้องแข็ง รู้สึกปวดจี๊ด ๆ ที่ท้อง
  • มดลูกแข็งตัวจนสามารถคลำและรู้สึกได้ว่ามีก้อนแข็ง ๆ ที่หน้าท้อง
  • มีอาการท้องแข็งและเจ็บท้องที่ไม่แน่นอน ไม่มีจังหวะสม่ำเสมอ
  • เมื่อคุณแม่ได้พักผ่อนด้วยการนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ อาการท้องแข็งก็จะหายไป

เจ็บท้องคลอดจริง คือ อาการเจ็บท้องที่เกิดจากมดลูกบีบรัดตัวเพื่อจะคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการดังนี้

  • รู้สึกเจ็บท้อง มีอาการท้องแข็ง เจ็บท้องมากอยู่นาน
  • มีอาการเจ็บสม่ำเสมอ และมีอาการเจ็บที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือเจ็บนานขึ้น
  • มีอาการเจ็บท้อง ท้องแข็ง ร่วมกับมีอาการปวดบริเวณหลังร้าวลงมาถึงช่วงล่าง หรือจนถึงหน้าขา
  • มีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอด หรือมีน้ำเดิน


parenting.com


นอกจากเรื่องการเจ็บท้องคลอดแล้ว ช่วงโค้งสุดท้ายในการตั้งครรภ์เดือนที่ 9 นี้ยังมีสัญญาณอันตรายใกล้คลอดหรือภาวะแทรกซ้อนที่คุณแม่ต้องระวังอีกดังนี้

1.มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด มูกที่ว่านี่จะมีลักษณะเหนียวข้น มีสีขาว และมักจะหลุดออกมาในช่วงราว ๆ 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการคลอด เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางลง และเปิดตัวขยายมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกฉีกขาดได้ ดังนั้นหากมีมูกเลือดหลุดผสมออกมา ควรไปพบคุณหมอทันที เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่แสดงว่าใกล้คลอดแล้ว

2.ท้องเสีย เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าใกล้ที่จะคลอดแล้ว และเมื่อใกล้คลอด ร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งจะทำให้มดลูกหดตัว และหากแม่ท้องมีอาการท้องเสีย ก็จะทำให้ร่างกายแม่ท้องเกิดภาวะขาดน้ำ หากมีอาการท้องเสียมาก ก็จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก อันนำไปสู่การคลอดได้

3.ลูกดิ้นน้อยลง สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง เกิดจากการที่ทารกตัวโตขึ้น แต่กลับต้องอยู่ในโพรงมดลูกที่ดูเหมือนจะคับแคบลงจนทำให้ทารกในครรภ์นั้นเคลื่อนไหวได้ลำบาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าทารกมีการเจริญเติบโตที่เร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับโพรงมดลูกที่มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย อีกทั้งน้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็มีปริมาณที่จำกัดนั่นเอง

4.ปากมดลูกเปิด เมื่อปากมดลูกเริ่มเปิด นั่นคือสัญญาณเตือนของคุณแม่ว่าลูกน้อยพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว โดยปกติปากมดลูกของแม่ท้องจะมีลักษณะกลมหนา ปิดสนิทตลอดเวลาและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกของแม่ท้องจะเริ่มบางตัวและอ่อนนุ่มลงจากฮอร์โมนที่สูงขึ้นในตัวของคุณแม่ และจะค่อย ๆ เปิดกว้างจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อให้ศีรษะของทารกเคลื่อนผ่านได้ระหว่างที่ทำการคลอด

5.น้ำเดิน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอด แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าอายุครรภ์จะยังไม่ถึงกำหนดคลอดก็ตาม โดยเกิดจากการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา อาการน้ำเดินที่แม่ท้องจะรู้สึกได้คือ มีน้ำใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดในปริมาณมาก แม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด และควรนอนราบเพื่อไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกแห้งจนเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตได้


หากคุณแม่มีสัญญาณหรือภาวะดังที่กล่าวมา ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ที่กำลังจะลืมตาดูโลก เพราะนั่นเป็นการส่งสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้ว

คุณแม่ต้องมีเบอร์โทรศัพท์ของคุณหมอที่ดูแลครรภ์ไว้ โดยเมมไว้ในโทรศัพท์ หรือจดเบอร์โทรศัพท์ไว้ในตำแหน่งที่หยิบง่าย รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะคุณแม่อาจจะต้องของคำแนะนำจากคุณหมอเป็นอย่างมากในช่วงเดือนนี้ 


mommydocs.com


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


เพื่อไม่ให้เกิดความฉุกละหุกขึ้นมาเวลาที่เจ็บท้องคลอด ข้อควรปฏิบัติในระหว่างนี้ของคุณแม่ที่ต้องเตรียมพร้อมมีสองเรื่องหลักคือ เตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย และการเตรียมสิ่งของใช้ที่จำเป็นสำหรับตัวเองและของทารกลงกระเป๋าเตรียมคลอดที่โรงพยาบาล


เตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย


  • คุณแม่ควรไปตรวจเช็กสุขภาพครรภ์ตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง ซึ่งเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดคุณแม่ตรวจครรภ์ทุกสัปดาห์ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการเจ็บครรภ์คลอดที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณหมอจึงต้องเช็กความพร้อมของร่างกายคุณแม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้ หากมีการคลอดฉุกเฉินขึ้น และเพื่อดูอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • ในการตรวจสุขภาพก่อนถึงสัปดาห์ของการคลอด คุณหมอจะดูความพร้อมของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าที่นำศีรษะเคลื่อนกลับลงมารออยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่หรือยัง ในบางกรณีที่ทารกไม่กลับศีรษะอาจไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ ต้องใช้การผ่าคลอดเข้ามาช่วย ซึ่งหากคุณหมอทราบพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยคร่าว ๆ ก็จะง่ายต่อการประเมินในการให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดได้


เตรียมสิ่งของใช้จำเป็น

สำหรับไปคลอดที่โรงพยาบาล


คุณแม่ควรจัดกระเป๋าเตรียมตัวคลอดไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงวันครบกำหนดคลอดเพราะหากมีอาการเจ็บท้องจะได้พร้อมไปโรงพยาบาลทันที โดยสิ่งของที่คุณแม่ควรเตรียมมีดังนี้

เตรียมของใช้คุณแม่ 

1.เอกสารต่าง ๆ เช่น ใบนัดแพทย์ สมุดบันทึกการตั้งครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล บันทึกการฝากครรภ์ สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อและคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน ใช้สำหรับแจ้งเกิดลูก 

2.ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า หวี ผ้าเช็ดตัว ครีมทาผิว เครื่องสำอาง เพื่อให้คุณแม่ดูดีในยามที่เพื่อนฝูงมาแสดงความยินดีที่โรงพยาบาล

3. กางเกงใน เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก และแผ่นซับน้ำนม

4.ผ้าอนามัยแบบหนา เพื่อใช้ซึมซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ส่วนมากทางโรงพยาบาลมักจัดเตรียมไว้ให้ แต่ถ้าคุณแม่มียี่ห้อที่ใช้เป็นประจำก็ควรนำติดไปด้วย

5.เสื้อคลุมอาบน้ำ ใช้สวมหลังอาบน้ำหรือในเวลาที่คุณอยากออกไปเดินนอกห้องพักในโรงพยาบาล

6.ชุดนอน ในกรณีที่คุณแม่ไม่อยากสวมชุดคนไข้ของทางโรงพยาบาล

7.รองเท้าและถุงเท้า ควรเลือกรองเท้าแตะไม่มีส้น หรือรองเท้าแตะเพื่อสุขภาพไว้ใส่เดินไปมาทั้งในและนอกห้องพักฟื้น สำหรับคุณแม่บางคนอาจรู้สึกหนาวจนตัวสั่น เนื่องจากสูญเสียความร้อนภายในตัวจากลูกที่คลอดออกไป ควรใส่ถุงเท้าหนา ๆ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นยิ่งขึ้น

8.สิ่งของที่ช่วยผ่อนคลายระหว่างรอคลอด เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สายชาร์จ พาวเวอร์แบงค์ หนังสืออ่านเล่น กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ เพื่อแชะและแชร์แบบเรียลไทม์บนโซเชียลว่าตอนนี้มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มมาอีกหนึ่งแล้ว

9. ชุดใส่กลับบ้าน อย่าลืมจัดเสื้อผ้าสำหรับการเดินทางกลับบ้านของคุณแม่ โดยอาจเลือกเป็นกางเกงเอวยางยืด และเสื้อยืดที่สวมใส่สบาย


คุณแม่เตรียมของใช้ที่จำเป็น


เตรียมของใช้คุณลูก 

1.ผ้าห่อตัวลูก ใช้สำหรับวันออกจากโรงพยาบาลให้ลูกอุ่นสบาย

2.เสื้อผ้าเด็กทารก เช่นเสื้อ กางเกง ชุดนอน หมวกเด็กอ่อน ถุงมือและ ถุงเท้า ขอให้เตรียมไปให้พอกับจำนวนวันที่คุณแม่จะต้องอยู่ที่โรงพยาบาล และเตรียมสำหรับใส่ในวันกลับบ้านด้วย

3.ผ้าอ้อมผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับทารกแรกเกิด 

4.กระดาษเปียกหรือสำลีทำความสะอาดสำหรับเช็ดก้นทารก

5.แชมพูอาบน้ำ สระผมสำหรับทารก และผ้าเช็ดตัว สำหรับเช็ดตัวลูกหลังอาบน้ำ

6. สมุดบันทึกพัฒนาการลูกน้อย

7. Infant car seat เบาะนิรภัยสำหรับทารก เพราะระยะทางใกล้ไกลแค่ไหน ก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน


ทั้งนี้ ก่อนจัดกระเป๋าเตรียมคลอด คุณแม่ควรตรวจสอบกับโรงพยาบาลที่เตรียมไปคลอดดูว่าทางโรงพยาบาลจัดเตรียมอะไรไว้ให้บ้าง เพราะแพ็กเกจคลอดของแต่ละโรงพยาบาลนั้นแตกต่างกัน เพื่อให้การจัดกระเป๋าเตรียมคลอดนั้นง่ายขึ้น และเพื่อไม่ให้ขนของไปเกินความจำเป็น


ช่วงเวลาที่พิเศษของครอบครัว


มาถึงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ เป็นธรรมดาที่คุณแม่จะรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวลไปสารพัด แต่ถ้าเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวล จำไว้ว่าการคลอดเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สุดในชีวิต ทำใจให้สบายแล้วรอรับขวัญเจ้าตัวเล็กที่กำลังจะลืมตามาดูโลกกันดีกว่า...อุแว๊ ๆ ๆ 


 Credit Image: bubhub.com.au, healthtap.com, huffpost.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,180
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,264
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,526
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่