ระวัง! อาการแทรกซ้อนที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด

2018.01.29 22,782

คุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน


การเตรียมตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์ 7 เดือนไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่ว่าควรเตรียมตัวที่จะรับกับอาการที่จะตามมาเพราะยิ่งมีอายุครรภ์ที่มากและยิ่งเป็นตั้งครรภ์ระหว่าง 7 เดือนก็ยิ่งจะทำให้มีอาการต่าง ๆ เข้ามากวนใจคุณแม่หลายอย่าง  ตามHappy Mom.Life ไปดูกันว่าในช่วงเดือนนี้คุณแม่มีอาการอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือกับการตั้งครรภ์ในช่วงนี้ได้อย่างมีคุณภาพ


ระวัง! อาการแทรกซ้อนที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.นอนไม่หลับ เพราะคุณแม่มีท้องที่ใหญ่และเริ่มรู้สึกอุ้ยอ้ายอึดอัด ทำให้นอนหลับได้ไม่สบายตัว คุณแม่จึงไม่สามารถนอนหลับสนิทได้ตลอดคืน หากคุณแม่มีอาการเพลียง่วงนอนตอนกลางวันเพราะนอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรหาเวลางีบหลับกลางวันบ้างสักพัก เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย จนไม่สบายหรือหน้ามืดเป็นลม


2.ร่างกายเริ่มสร้างน้ำนม ร่างกายของคุณแม่จะมีการเริ่มสร้างหัวน้ำนมขึ้นแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับลูกน้อย หากบังเอิญมีการคลอดก่อนกำหนด และเพื่อสร้างสะสมไว้ให้ลูก คุณแม่จึงอาจสังเกตเห็นว่ามีน้ำนมสีเหลืองใส ๆ ออกมาจากหัวนมได้


3.ปวดหลัง เนื่องจากร่างกายคุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับที่กระดูกเชิงกรานซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักด้านล่างมีการขยายตัวเตรียมคลอด ทำให้หลังของคุณแม่ต้องรับน้ำหนักเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ฐานรับน้ำหนักกระดูกสันหลังที่กระดูกเชิงกรานมีการเคลื่อนตัวคลอนแคลน ทำให้คุณแม่ปวดหลัง และอาจรู้สึกปวดกระดูกหัวหน่าวและบริเวณก้นกบได้อีกด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการปวดมากขึ้น คุณแม่จึงควรสวมรองท้าเตี้ย ๆ ที่เดินสบาย เดิน นั่ง ยืนให้ถูกท่า ไม่เปลี่ยนอิริยาบถทันที ไม่ยกของหนัก และไม่นั่งเก้าอี้หรือนอนเตียงที่นุ่มจนเกินไป ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอาการปวดหลังมากขึ้น


คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการปวดหลัง


4.ครรภ์เป็นพิษ ในช่วงตั้งครรภ์คุณหมอควรหมั่นเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหากมีภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเป็นครรภ์เป็นพิษ โดยจะมีอาการบวมมากที่บริเวณใบหน้า แขนและขา เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว  น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว มีความดันโลหิตสูง และหากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดอาการชักและหมดสติ จนถึงกับคลอดก่อนกำหนด คุณแม่และลูกน้อยมีภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย

ครรภ์เป็นพิษ จึงเป็นภาวะเสี่ยงที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นไปฝากครรภ์สม่ำเสมอ ไปพบแพทย์และปรึกษากรณีมีอาการผิดปกติต่างๆ คอยสังเกตร่างกายว่าบวมมากเกินไปหรือไม่ ปวดศีรษะเวียนหัวผิดปกติหรือเปล่า เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงจนไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที


5.ถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น อาการถ่ายปัสสาวะบ่อยจะกลับมาหาคุณแม่อีกครั้งในช่วงนี้ เพราะมดลูกที่ขยาย ประกอบกับน้ำหนักตัว และการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์จะไปกดลงบนกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ ทำให้คุณแม่มีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น


6.ขาและเท้าบวม ขาและเท้าของคุณแม่ท้อง ต้องรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ แถมยังต้องเดิน ยืน และอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้ขาของคุณแม่อาจจะมีทั้งเส้นเลือดขอดและเกิดอาการปวดเมื่อยล้าไปทั่วขาได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 7-8-9 ซึ่งคุณแม่มักจะมีอาการขาและเท้าบวม เพราะร่างกายสะสมน้ำไว้มาก อาจจะสังเกตได้จากแหวนที่คับมากขึ้น


7. ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหารมาก และท้องผูก ยังคงเป็นอาการที่รบกวนคุณแม่อยู่ ขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะดันกระเพาะอาหารขึ้นไป หากคุณแม่รับประทานอาหารแล้วแน่นท้องมาก ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ อีกครั้งในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์นี้


8.ผื่นหรือสิว ผิวหนังของคุณแม่จะแพ้ง่ายมากในช่วงนี้ อาจมีผื่นขึ้น หรือเป็นสิว ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากเป็นมากควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง


9.อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกาย รก และทารก ดังนั้นอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่มักจะสูงกว่าปกติประมาณ 10 – 15 ครั้งต่อนาที คุณแม่บางคนอาจถูกตรวจพบว่ามีเสียงผิดปกติของการเต้นของหัวใจ แต่อาการจะหายไปเมื่อคลอดแล้ว


วิธีการดูแลตัวเอง


การดูแลสุขภาพคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ทำให้นอนหลับเพียงพอ ก็จะสามารถทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแล้วแต่ว่า ช่วงครรภ์ 7 เดือนเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงนี้คุณแม่จะอดนอนมากที่สุดและยิ่งอดนอนมากก็ยิ่งทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เพราะว่าขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นและวิธีการนอนที่ลำบากมากขึ้น ดังนั้นวิธีการควรหามุมที่นอนสบายที่สุดและมีการหาเพลงเบา ๆ มาฟังให้สบายใจ อาจจะเป็นนำหนังสือมาอ่านคลายเครียด หรือว่าดูรายการสนุก ๆ ที่ไม่เครียด เพราะหลังจากที่ดูหรืออ่านจะเกิดอาการง่วงและหลับไปเลย จะเป็นการดีกว่าการฝืนตัวนอนจะเกิดความเครียดโดยใช่เหตุ


ทารกในครรภ์เจริญเติบโตตามอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น

 

และถึงแม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายแล้วก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ และทารกในครรภ์ก็ยังต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่เหมือนเดิม ยิ่งในคุณแม่จะต้องทานอาหารที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปจากร่างกาย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งสารอาหารทั้งสองอย่างนื้ทารกจะดึงเอาจากร่างกายของคุณแม่ไปเพื่อใช้ในการสร้างกระดูก ส่วนธาตุเหล็กจะนำไปสร้างเม็ดเลือดให้กับทารก ดังนั้นคุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารทั้งแคลเซียม ธาตุเหล็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนม การทานเนื้อสัตว์ ธัญพืช ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก งาดำ โยเกิร์ต เป็นต้น



โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

 

คุณแม่ควรระวังอาการแทรกซ้อน เช่น การคลอดก่อนกำหนด อาการปวดท้องต่างๆ ที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดควรมีการระวังให้ดีเพราะว่า ช่วงนี้อยู่ในช่วงใกล้คลอดแล้วดังนั้นก่อนจะทำอะไรควรดูให้ดีก่อนที่จะทำนั่นเพราะว่า อาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ และต่อตัวคุณแม่


การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) 


การคลอดก่อนกำหนดคือ การคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุเหล่านี้


  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • ครรภ์แฝด
  • ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องในขณะตั้งครรภ์ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
  • มีน้ำคร่ำปริมาณมากหรือน้อยเกินไป
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 16 สัปดาห์
  • คุณแม่อายุน้อยกว่า 16 ปี เนื่องจากว่าร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ที่จะตั้งครรภ์ ทำให้โอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูง
  •  คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุเกิน 35 ปี         
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทำงานที่ต้องออกแรงมาก ๆ หรือยืนตลอดเวลา
  • รับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อทารกในครรภ์
  • ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยมีรายงานระบุว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดมักได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ
  • การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-3 เดือนก่อนถึงกำหนดคลอด
  • การติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ เป็นต้น เพราะหากติดเชื้อดังกล่าว ระบบธรรมชาติจะพยายามขับเด็กออก ซึ่งทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท
  • มดลูกไวต่อการกระตุ้น ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกได้ง่าย และรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
  • ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก จะต้องรักษาโดยให้นอนอยู่บนเตียงหรือนอนพักในโรงพยาบาล
  • ความเครียด
  • คุณแม่ที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด


ดูแลทารกในครรภ์


อาการแสดงของการคลอดก่อนกำหนด หากมีอาการเหล่านี้ (อาการใดอาการหนึ่ง) ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

  • มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ปวดเกร็งท้องน้อย โดยไม่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาหารไม่ย่อย
  • ปวดหลัง หรือรู้สึกมีอะไรกดทับบริเวณก้น
  • ปวดถ่วงท้องน้อย ปวดร้าวที่ขาหนีบและหน้าขา
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีสีน้ำตาลปนเลือด อาจมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา แสดงอาการเปิดของมดลูก
  • มีการแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำ


นอกจากการคลอดก่อนกำหนดแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบด้วย เพราะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเท่านั้น เป็นธรรมดาที่จะขี้เกียจเดินบ่อย ๆ เลยอั้นเอาไว้ซะเลย ซึ่งรู้ไหมว่าเป็นวิธีที่ไม่ดีเลย เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบด้วย คุณแม่จะปวดท้องตลอดเวลา ปวดปัสสาวะบ่อยเกินจำเป็นแถมยังทำให้ ปล่อยออกไม่สุดด้วย มันเหมือนยังคาราคาซังเมื่อเป็นแล้วจะนำไปสู่การติดเชื้อได้ด้วย เริ่มจากมีไข้สูงเนื่องจากการอักเสบลามไปถึงไต เพราะฉะนั้นหากไม่อยากเป็นโรคทางเดินปัสสาวะ ห้ามอั้นเด็ดขาดหากว่าเดินไม่ไหว ให้ใช้แพมเพิสสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งสามารถจะช่วยได้เยอะ เพียงแค่หมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีเท่านั้นเอง


 ถ้าหากรู้ว่าในตอนกลางคืนจะมีการเข้านอนก็ไม่ควรที่จะรับประทานน้ำดื่มเป็นจำนวนมากก่อนนอนหลับเพราะว่าอาจจะส่งผลต่อคุณแม่ได้และทารกได้ เนื่องมาจากการกั้นปัสสาวะที่จะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบและเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาอีกเมื่อเชื้อลามเข้าไปสู่ตัวทารกภายในครรภ์ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 7 เดือนไม่ควรอั้นปัสสาวะเด็ดขาด 


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


1. ต้องรู้จักอาการเจ็บครรภ์เตือน อาการเจ็บครรภ์เตือน เป็นอาการเจ็บท้องเกิดขึ้นจากการที่มดลูกมีการบีบรัดตัว คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบทารกตึงและแข็งขึ้น อาการที่มดลูกบีบตัวนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ในช่วงไตรมาสที่สามนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นอาการเจ็บเตือนและเจ็บครรภ์จะคลอดจริงๆนั้น แตกต่างกันตรงที่ เจ็บเตือนนั้นปากมดลูกยังคงปิดสนิท แต่เจ็บจริงปากมดลูกจะเปิดออก อาการเจ็บเตือนมดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอจะเกิดขึ้นเมื่อใด เวลาใดก็ได้ แต่เจ็บจริงนั้น มดลูกจะหดรัดตัวสม่ำเสมอ และถี่มากขึ้น เจ็บนานขึ้น มดลูกอาจบีบตัวอยู่นานถึงสองนาทีและรุนแรงมากขึ้น การเจ็บเตือนเหมือนเป็นการซ้อมความพร้อมของการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ในการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้น


2. รู้ทางเลือกในการคลอดบุตร ในกรณีที่การตั้งครรภ์เป็นปกติ คุณแม่สามารถเลือกที่จะคลอดทารกทางช่องคลอดแบบธรรมชาติโดยไม่ใช้เทคโนโลยีใด ๆเข้ามาช่วยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ โรงพยาบาลมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครันที่จะเตรียมพร้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาระงับความรู้สึก อุปกรณ์ช่วยในการคลอดในกรณีที่คลอดยากเช่น คีม (Forceps) แวคคูอัม (Vacuum) หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะที่ต้องทำการช่วยเหลือในทันทีต้องผ่าตัดออกมาก็สามารถใช้ห้องผ่าตัดได้เลย


ในเดือนที่ 7 นี้คุณแม่ยังเดินทางท่องเที่ยว หรือใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับความกระทบกระเทือน เพราะอีกนิดเดียวเท่านั้นก็จะเข้าสู่อายุครรภ์ที่ 8 และ 9 ช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ได้พบเจอกับเจ้าตัวเล็กแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,200
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,539
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,565
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่