รับมืออาการแพ้ท้องในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์

2018.09.19 15,351

คุณแม่อายุครรภ์ 2 เดือน


เข้าสู่เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์กันแล้วนะคะ แม้ว่าคุณแม่บางคนจะยังดูไม่ออกหรือรู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่เหมือนคนท้องสักเท่าไหร่ เพราะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การตั้งครรภ์ 2 เดือนก็นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและยังเป็นอายุครรภ์ที่บอบบางมาก ๆ ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เซลล์สมองมีการพัฒนามากขึ้นไปตามลำดับ ขณะเดียวกันอาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 1 เดือนก็ยังคงมีอยู่ โดยบางอาการเริ่มแสดงให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น เช่น อาการแพ้ท้อง 


รับมืออาการแพ้ท้องในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 


1.แพ้ท้อง อาการแพ้ท้องเป็นอาการที่พบเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน สาเหตุเกิดจากฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ซึ่งมีเฉพาะช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น กระตุ้นร่างกายให้หลั่งน้ำมากขึ้น เช่น น้ำลาย กรดในกระเพาะ แถมกระตุ้นให้ทางเดินอาหารบีบตัว จนเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน รวมถึงกินได้น้อยลง คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการน้อย แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงค่อนข้างมาก แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ (4-6 เดือน) อาการแพ้ท้องเหล่านี้จะหายไปเอง โดยอาการสำคัญที่บ่งบอกว่าคุณแม่แพ้ท้อง มี 3 อย่างที่ชัดเจน ดังนี้

  • แพ้ท้องตอนตื่นนอน (Morning Sickness) โดยคุณแม่จะรู้สึกมึนศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ในตอนเช้า ๆ หลังตื่นนอน หรือเวลาลุกจากที่นอน คุณแม่บางคนอาจเกิดอาการเช่นนี้ได้ตลอดวัน โดยเฉพาะเวลาท้องว่าง ซึ่งอาจทำให้วิงเวียน เป็นลม เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ในคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมากจนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำ น้ำหนักตัวลด อาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ ต้องรีบไปพบแพทย์


คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออาการแพ้ท้อง

myparentingjourney.com


  • อยากกินของแปลก ๆ หรือกินไม่ลง คุณแม่อาจจะมีอาการอยากกินอาหารแปลก ๆ ที่ไม่ค่อยได้กิน หรือบางคนมักกินอาหารไม่ลงในช่วงนี้ เป็นเพราะฮอร์โมนที่สูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรก ๆ ที่ทำให้คุณแม่ไม่ค่อยรับรู้รสชาติ กินอะไรไม่ค่อยอร่อย เบื่ออาหาร ดังนั้นคุณแม่จึงต้องพยายามดูแลตัวเองเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งหากรู้สึกไม่อยากกิน ควรกินทีละน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ และขาดสารอาหาร
  • มีอาการเหม็น คุณแม่บางคนอาจมีความรู้สึกเหม็นกลิ่นน้ำหอมที่คุ้นเคย เหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด เช่น กลิ่นกระเทียม กินผักบางอย่าง ทั้ง ๆ ที่เคยดมหรือเคยกินได้ แต่ตอนท้องช่วงนี้กลับรู้สึกได้กลิ่นทีไรแทบอยากจะอาเจียนทุกที แถมคุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกเหม็นกลิ่นตัวคุณพ่อได้อีกด้วย

ช่วงแพ้ท้องในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ยังมีกลไกการทำงานที่ช่วยป้อนสารอาหารที่จำเป็นให้แก่ทารกได้อยู่ในช่วงนี้ แต่ถ้าคุณแม่ยังมีอาการแพ้ท้องมากจนกินอะไรไม่ได้เลย ทารกจะเริ่มขาดสารอาหาร เพราะอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมอง ตับ หัวใจ กระเพาะอาหารและอื่น ๆ จะพัฒนาขึ้นจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นช่วงเดือนที่ 2 


bellamamalife.com


2.ตกขาว เพราะฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นตอนตั้งครรภ์ ประกอบกับคุณแม่จะมีเลือดไปเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คุณแม่มีมูกข้นเหนียวหรือตกขาว บริเวณปากมดลูกมากกว่าปกติ  นอกจากนี้บริเวณอวัยวะเพศของคุณแม่จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นด้วย

3.เต้านมขยายใหญ่ คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงเต้านมมาก เพราะในร่างกายมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงมากจนคั่งเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังเป็นร่างแหสีเขียว ๆ ลานหัวนมของคุณแม่จะมีสีคล้ำขึ้น และเกิดตุ่มเล็ก ๆ โดยรอบ ที่เรียกว่า ตุ่มมอนต์โกเมอรี (Montgomery) และเต้านมคุณแม่ก็เริ่มมีไขมันสะสม มีต่อมและท่อส่งน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการตั้งครรภ์และให้นมทารกในอนาคต

4.อารมณ์แปรปรวน คุณแม่มักจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อ่อนไหว ซึมเศร้า อ่อนล้า หรือบางครั้งก็หงุดหงิด รำคาญคนรอบข้างได้ง่าย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอารมณ์แปรปรวน ขึ้น ๆ ลง ๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ร่วมกับความกังวลใจในการดูแลครรภ์และอื่น ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นคุณแม่ตั้งครรภ์


วิธีการดูแลตัวเอง


คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง เนื่องจากในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือน อาการแพ้ท้องของคุณแม่จะปรากฎอย่างเด่นชัดขึ้น ดังนั้นจึงควรดูแลตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องเป็นสำคัญ โดยคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1. บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยอาหารคุณภาพ เดี๋ยวนี้มีคุกกี้ หรือแครกเกอร์ที่ทำจากแป้งข้าวโอ๊ตผสมธัญพืช ที่ช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ได้คุณค่าอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีนและแร่ธาตุ สามารถเป็นอาหารว่างให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทานเล่นได้ โดยคุณแม่ควรเตรียมอาหารว่างไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อตื่นขึ้นมาจะได้รับประทานได้ทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น เพราะอาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง


คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการแพ้ท้องในตอนเช้า

newhealthadvisor.com


2. หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง เนื่องจากอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการจุกเสียดแน่นหน้าอกได้ง่าย ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ แต่รับประทานหลาย ๆ มื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อย ๆ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก

3.กินทีละน้อย คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5-6 มื้อต่อวัน เนื่องจากในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ระบบการทำงานของลำไส้จะทำงานได้ช้า ย่อยอาหารยาก หากรับประทานครั้งละมาก ๆ ร่างกายจะทำงานไม่ไหว ยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นจึงควรกินทีละน้อย แต่อาศัยกินบ่อย ๆ แทน

4.บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยา สำหรับคุณแม่บางคนที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก การใช้ยาแก้แพ้ท้องก็จะช่วยระงับหรือบรรเทาอาการคลื่นไส้ให้ลดลงได้ ซึ่งยานี้มีทั้งแบบฉีดและรับประทาน โดยคุณหมอจะพิจารณาตามอาการและความรุนแรงของคุณแม่ที่แพ้เป็นรายบุคคลไป ห้ามซื้อยามาใช้เอง เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้ และในกรณีที่คุณแม่แพ้ท้องอย่างรุนแรง จนกินอะไรไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้สารอาหารผ่านทางน้ำเกลือ ซึ่งอาจจะมีวิตามินหรือยาแก้แพ้ผสมเข้าไปด้วย เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน

5.ดูแลจิตใจ อย่างที่ทราบกันดีว่าคุณแม่แพ้ท้อง มักจะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เพราะเหนื่อยและอ่อนเพลีย การดูแลทางด้านจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ สามีและครอบครัวควรให้กำลังใจ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องแล้วถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวมักจะทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้นได้


สามีคอยดูแลและเป็นกำลังใจ

parenting.firstcry.com


คุณพ่อแพ้ท้องแทนคุณแม่ได้จริงหรือ?


ในความเป็นจริง คุณพ่อไม่สามารถแพ้ท้องแทนคุณแม่ได้ เพราะว่าเป็นคนละคนกัน ฮอร์โมนก็ไม่เหมือนกัน อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นกับคุณพ่อนั้นจึงเป็นเรื่องของความผูกพันทางด้านจิตใจมากกว่า เป็นความรู้สึกร่วมกัน คุณพ่ออาจจะเป็นห่วงคุณแม่มากจนทำให้ตัวเองเครียด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมไปกับคุณแม่ด้วยนั่นเอง


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง


หากอาการแพ้ท้องนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง อาเจียน และน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นภาวะอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum : HG) ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และในบางครั้งมีความรุนแรงถึงขั้นจำเป็นต้องให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์เลยก็มี

ความเสี่ยงหลักในผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คือ ภาวะขาดน้ำและสมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ โดยมีรายงานระบุว่าผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อตัวเด็กอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา หรือคุณแม่ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้เพียงพอตามมาตรฐานในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ภาวะแพ้ท้องรุนแรงนี้แม้จะพบน้อยมาก แต่ความรุนแรงก็เยอะมากเช่นกัน เพราะเมื่อแพ้ท้องรุนแรง คุณแม่จะรับประทานอะไรไม่ได้เลย รับประทานเข้าไปก็อาเจียนออกมาหมด บางรายอาเจียนจนหลอดเลือดที่อยู่บริเวณหลอดอาหารมีการฉีกขาด ทำให้เวลาอาเจียนจะเห็นเลือดปนมากับเศษอาหาร และอาจมีแรงดันเลือดสูง จนเกิดรอยเลือดออกในเยื่อตา ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายขาดทั้งน้ำและอาหาร สภาพร่างกายดูทรุดโทรม ตาลึก ปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว ปัสสาวะสีเข้มเป็นสีขมิ้น ถ้าแพ้ท้องถึงระดับนี้ก็จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้น้ำเกลือ ซึ่งบางครั้งอาจมีการให้อาหารผ่านทางน้ำเกลือ เช่น วิตามินบี 6 และให้ยาช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง


อาการแพ้ท้องจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป

Pinterest.com


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


อวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นสมอง ตับ หัวใจ กระเพาะอาหารและอื่น ๆ จะพัฒนาขึ้นจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นช่วงเดือนที่ 2 ดังนั้นข้อควรปฏิบัติของคุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้จึงต้องเน้นเรื่องอาหารที่เหมาะสม โดยคุณแม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกายของคุณแม่ และส่งต่อไปเพื่อให้ทารกในครรภ์ใช้สำหรับเสริมสร้างพัฒนาร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้

1.โปรตีน สารอาหารหลักที่ร่างกายได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์ สำหรับใช้พัฒนาระบบการทำงานของสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ร่างกายสามารถรับได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด และในนม ไข่ ฯลฯ รวมถึงถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น

2.แคลเซียม ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่พบในกระดูก คุณแม่ควรได้รับการสะสมแคลเซียมไว้มาก ๆ เพราะส่วนหนึ่งแคลเซียมในร่างกายของคุณแม่จะต้องถูกส่งต่อไปให้ทารกในครรภ์เพื่อสร้างกระดูก ทำให้คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาในอนาคต ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้งหลังคลอดก็ยังต้องเสริมให้ร่างกายอยู่ตลอด โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม (หากกังวลว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้นมวัวได้หลังคลอด คุณแม่อาจดื่มนมสัปดาห์ละ 2 วัน) โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็ก ๆ กุ้งฝอย ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ และผักใบเขียวเข้มทุกชนิด รวมทั้งแคลเซียมเม็ดที่คุณหมออาจจัดให้คุณแม่เพื่อบำรุงระหว่างตั้งครรภ์ด้วย


คุณแม่ตั้งครรภ์เลือกอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

neuvokasperhe.fi


3.ธาตุเหล็ก ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าคุณแม่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง และทารกได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกมีปัญหาพัฒนาการทางสมองได้  แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น งา เนื้อแดง ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ฯลฯ

4.คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่สำคัญคือให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยร่างกายคุณแม่มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังจำเป็นต่อระบบสมองของทารกในครรภ์ด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช ก๋วยเตี๋ยว

5.โฟเลต มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก คุณหมอที่ดูแลครรภ์จะจัดโฟเลตให้คุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์ โดยโฟเลตถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ระบบประสาท และระบบประสาทไขสันหลังของทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์ นอกจากนี้แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ที่นอกเหนือจากในวิตามินที่คุณหมอจัดให้ คุณแม่สามารถเสริมโฟเลตให้ร่างกายทุกวันได้จากอาหารที่มีมากอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ผักโขม บร็อกโคลี่  แคนตาลูป น้ำส้ม ตับ เนื้อแดง หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า ฯลฯ


ในเดือนที่ 2 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องเป็นอาการปกติที่มักจะเป็นช่วงแรกของการตั้งครรภ์และจะหายไปได้เองเมื่อพ้นไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การรักษาแบบประคับประคอง รับประทานยาที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการช่วยเหลือดูแลจากครอบครัวและคนรักอย่างถูกต้องจะช่วยให้คุณแม่ผ่านพ้นภาวะยากลำบากนี้ไปได้ และหากมีอาการแพ้รุนแรงหรือความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน 

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,179
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,252
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,525
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่