คุณหมอไขข้อข้องใจ จะดูแลปกป้องลูกจากอาการ “แพ้แป้งสาลี” ได้อย่างไร

2018.01.13 20,884

อาการแพ้แป้งสาลีในเด็ก จัดเป็นอาการแพ้อาหารยอดฮิตที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่า ลูกของเราจะมีอาการนี้หรือไม่ อาการนี้จะเป็นอันตรายต่อลูกมากแค่ไหน และจะมีวิธีดูแล ปกป้องลูกรักของเราอย่างไร 

วันนี้ Happy Mom.Life ได้รับเกียรติจาก พญ. ณัฐชนัญ กลางกัลยา กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ซึ่งสละเวลามาให้คำตอบกับเราอย่างประจ่างชัด ถึงต้นเหตุ และการดูแลเด็กๆ ให้ปลอดภัยจากอาการแพ้แป้งสาลี เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ…

 

ใส่ใจอาหาร ใส่ใจลูกรัก


อาการแพ้แป้งสาลีคืออะไร และส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

การแพ้แป้งสาลี หรือ Wheat allergy คือ การมีปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดหลังได้รับอาหารที่ประกอบด้วยแป้งสาลี ทั้งจากการรับประทาน การสัมผัสอาหาร หรือจากการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย โดยปฏิกิริยานี้เกิดผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกัน (Immune-mediated) ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่แสดงออกทางร่างกาย ได้แก่

  • ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นแดงหรือคัน หน้าบวม ตาบวม ริมฝีปากบวม
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม หลอดลมตีบเฉียบพลัน หายใจลำบาก หอบ แน่นหน้าอก
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น คันปาก ริมฝีปากบวม อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย 
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เวียนศึรษะ ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ระบบประสาท เช่น มึนงง


อาการแพ้อาหารนั้นอาจเกิดพร้อมกันหลายระบบหรือแสดงอาการเพียงระบบใดระบบหนึ่งก็ได้ อาจมีอาการรุนแรงเพียงเล็กน้อย รุนแรงปานกลาง หรือรุนแรงมาก เช่น ภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ”



ปัจจัยที่ทำให้เด็กๆ แพ้แป้งสาลีมีอะไรบ้าง?

“อาการแพ้อาหารเกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ

1. ปัจจัยด้านอายุ ในเด็กทารกนั้น ภูมิคุ้มกันในลำไส้ยังไม่แข็งแรง ระบบทางเดินอาหารยังมีกลไกการป้องกันหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมต่างๆได้ไม่สมบูรณ์ น้ำย่อยและเอนไซม์ต่างๆ ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ทำให้โปรตีนในอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น ยังคงเหลือส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การตอบสนอง ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้อาหาร ร่วมกับในวัยทารกยังขาด secretory IgA อันเป็นสารภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารผ่านเข้าไปในผนังลำไส้ได้


2. ปัจจัยทางพันธุกรรม


3. ปัจจัยทางชนิดหรือโมเลกุลของสารก่อภูมิแพ้ เช่น เป็นสารที่ทนความร้อนหรือไม่ทนต่อความร้อน


4. ปัจจัยทางการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ทางอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน


5. ปัจจัยเสริม อันมีผลเพิ่มการดูดซึมสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ”


ขนมปัง หนึ่งในอาหารที่มักมีแป้งสาลีและกลูเตนเป็นส่วนประกอบ

pixabay


หากพบว่าลูกมีอาการแพ้แป้งสาลีควรทำอย่างไร?

“หลักการรักษาผู้ป่วยที่แพ้อาหาร คือ ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ การให้ความรู้แก่คนรอบข้างรวมทั้งคำแนะนำในการเฝ้าสังเกตและรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ได้แก่


1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบ 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ขนมปัง ขนมเค้ก ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ สปาเกตตี้ มักกะโรนี บะหมี่ พาสต้า อาหารชุบแป้งทอด ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส ขนมกรุบกรอบบางชนิด แคร๊กเกอร์ ซาลาเปา ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน และผู้ดูแลควรใส่ใจในเรื่องการเตรียมอาหาร การอ่านฉลาก เรียนรู้ส่วนประกอบในอาหารต่างๆ ในการเลือกซื้ออาหาร ควรเลือกชนิดไม่มีแป้งสาลี (wheat free, gluten free) โดยเฉพาะ


2.ให้ความรู้

ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลในการเฝ้าสังเกตอาการแพ้ และรู้จักดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติแพ้รุนแรง จำเป็นต้องมียาฉีด adrenaline ติดตัวไว้เสมอ และสามารถฉีดเองได้ถูกต้อง


3. งดออกกำลังกาย

ผู้ป่วยที่แพ้แป้งสาลี ควรงดออกกำลังกาย 2-4 ชั่วโมงหลังรับประทาน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแพ้แป้งสาลีรุนแรง (Food-dependent, exercise-induced anaphylaxis, FDEIA) ซึ่งมักพบในช่วงวัยรุ่นตอนปลายถึงช่วงอายุ 30 ปี


นอกจากนี้การดูแลเด็กที่แพ้แป้งสาลีนั้น ควรสังเกตและประเมินอาการภูมิแพ้ของระบบอื่นๆ ที่มักเกิดร่วมกัน หรือเกิดตามมาภายหลัง เช่น การแพ้อาหารชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด เป็นต้น”



หากลูกแพ้อาหารหรือแพ้แป้งสาลีแล้วจะหายได้ไหม?

“การดำเนินโรคของเด็กที่แพ้อาหารส่วนใหญ่ขึ้นกับชนิดอาหารที่แพ้ อายุของผู้ป่วย ชนิดของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และปัจจัยร่วมบางอย่างอื่นๆ

ในเด็กที่แพ้นมวัว ไข่ แป้งสาลี และถั่วเหลือง ส่วนใหญ่มักจะหายจากภาวะแพ้อาหารเร็วกว่าเด็กที่แพ้ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ปลา และอาหารทะเล โดยจากการศึกษาการดำเนินโรคของเด็กที่แพ้แป้งสาลีนั้น ผู้ป่วยหายจากภาวะแพ้แป้งสาลีหรือสามารถที่จะรับประทาน ได้ตอนอายุ 4 ปี คิดเป็น 59%, 8 ปี คิดเป็น 76%,  และหายตอนอายุ 16 ปี คิดเป็น 96%”


จะป้องกันไม่ให้ลูกแพ้อาหารรวมถึงแพ้แป้งสาลีได้อย่างไร?

“จากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย พ.ศ.2557 ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ดังนี้


1.ในช่วงมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  • แนะนำให้มารดากินอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างสมดุล
  • ไม่จำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ไข่ ถั่วลิสง
  • การงดอาหารในแม่ตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ทั้งในแม่และทารกในครรภ์


2. การกินนมแม่และการเริ่มอาหารเสริม

  • กินนมแม่อย่างน้อยนาน 4-6 เดือน
  • การเริ่มอาหารเสริม ควรเริ่มหลังอายุ 4 เดือนและก่อนอายุ 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการความพร้อมทั้งทางด้านพัฒนาการและร่างกายของทารกแต่ละคนด้วยโดยควรหยุดกินอาหารนั้นทันทีถ้ามีอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์”


pixabay


โรคแพ้กลูเตน (Celiac disease)

ต่างจากการแพ้แป้งสาลี (Classic wheat allergy) อย่างไร?

“ต้องอธิบายว่า ปฏิกิริยาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบไม่พึงประสงค์ต่อแป้งสาลี (Adverse immunologic reaction to wheat) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่


1. Classic wheat allergy 

หมายถึง การแพ้แป้งสาลีที่เกิดจากการแพ้โปรตีน (wheat protein) ในแป้งสาลี โดยโปรตีนในแป้งสาลีนั้นมีหลายชนิด เช่น amylase/trypsin inhibitor subunit, gliadin ซึ่งโปรตีนไกลอะดิน (gliadin) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนกลูเตน (gluten) มีปริมาณร้อยละ 30 ของโปรตีนในแป้งสาลี 

ผู้ที่มีอาการผื่นลมพิษ ผื่นคัน คัดจมูก น้ำมูกไหล และแพ้รุนแรง (anaphylaxis) มักสัมพันธ์กับโปรตีนในแป้งสาลีหลายชนิด


2. กลุ่มโรคที่มีลักษณะอาการเฉพาะของการแพ้แป้งสาลี 

กลุ่มโรคนี้เช่น

  • Food-dependent, exercise-induced anaphylaxis (FDEIA) ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพ้เฉพาะเมื่อหลังรับประทานแป้งสาลีและออกกำลังกาย
  • Occupational asthma (Baker’s asthma) and rhinitis หมายถึง อาการแพ้แป้งสาลีที่เกิดจากการสูดดม จัดเป็นโรคหืดที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
  • Contact urticaria induced by wheat protein หมายถึง โรคผื่นแพ้สัมผัสจากปฏิกิริยาแพ้โปรตีนในแป้งสาลี


3.Celiac disease หรือ Gluten-sensitive enteropathy

เกิดจากการที่ร่างกายมีความไวต่อกลูเตน เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีกลูเตน ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อกลูเตนที่อยู่บริเวณผนังลำไส้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบเกิดขึ้น (T cell-mediated gastrointestinal inflammation)

เด็กๆ ที่ร่างกายมีความไวต่อกลูเตนจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ท้องเสียหรือท้องผูก หลังรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนเข้าไป โดยการที่มีปฏิกิริยาอักเสบในลำไส้นั้น จะก่อให้เกิดความบกพร่องของการดูดซึมสารอาหาร ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ ทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักลด มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า มีภาวะโลหิตจาง เข้าสู่ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวช้า ตัวเตี้ยไม่สมวัย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ตับอักเสบ ข้ออักเสบ และกระดูกพรุน เป็นต้น”


โปรตีนกลูเตนมีอยู่ในแหล่งอาหารใดบ้าง?

“แหล่งวัตถุดิบสำคัญที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ข้าวสาลี (wheat) ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และข้าวโอ๊ตบางชนิด โดยส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัตถุดิบเหล่านี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ สปาเกตตี้ พาสต้า อุด้ง ซอสถั่วเหลือง ซอสปรุงรส เบียร์ สุรา น้าส้มสายชูจากข้าวบาร์เลย์ ซอสเพิ่มความหนืดในอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด เป็นต้น”


ข้อแนะนำในการดูแลเด็กๆ ที่แพ้อาหารรวมถึงแพ้แป้งสาลี

“คุณพ่อคุณแม่ที่ลูกมีอาการแพ้อาหารควรทำความเข้าใจดังนี้ค่ะ

  • การแพ้อาหารมักจะพบมากในขวบปีแรก อาการแพ้อาหารสามารถแสดงอาการได้หลายระบบของร่างกาย
  •  หากสงสัยว่าลูกมีอาการแพ้อาหาร ควรตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดจากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ เพื่อประเมินว่าเป็นปฏิกิริยาแพ้จริงหรือไม่ และพิจารณาทำการทดสอบว่าแพ้อาหารประเภทใด
  • เด็กที่แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้อย่างเต็มที่ ตามการดำเนินโรคนั้น โดยส่วนใหญ่อาการแพ้จะค่อยๆลดลง ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่วนโอกาสและระยะเวลาที่จะหายจากอาการแพ้นั้น ขึ้นกับชนิดของอาหารที่แพ้ ชนิดปฏิกิริยาที่แพ้ อายุของผู้ป่วย และปัจจัยร่วมอื่นๆ ค่ะ”


จากความรู้ที่ได้จากคุณหมอ คิดว่าน่าจะพอเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ในการดูแลเด็กๆ ให้ปลอดภัยจากการแพ้แป้งสาลี รวมไปถึงการแพ้อาหารอื่นๆ ได้นะคะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมคอยสังเกตอาการของลูกน้อยหลังรับประทานอาหารต่างๆ อยู่เสมอ รวมทั้งใส่ใจเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยให้เหมาะสมตามวัยของลูกด้วยค่ะ

 


พญ. ณัฐชนัญ กลางกัลยา

                                                              กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน 

                                                   ศูนย์ภูมิแพ้ โรงพยาบาลนครธน

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,180
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,266
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,527
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่