รู้จัก 9 อาการที่ส่งสัญญาณว่าจะได้เป็นคุณแม่

2018.01.24 988

คุณแม่อายุครรภ์ 1 เดือน


เมื่อตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมาก็ถึงเวลาแล้วที่พร้อมจะลูกมาเติมเต็มครอบครัวนี้ให้สมบูรณ์กันแล้ว ซึ่งเดือนที่ 1 หรือสัปดาห์ที่ 1-4 ของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองนั้นกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่อาจจะพบอาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งจะเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 มาดูกันค่ะว่าการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะมีอะไรบ้าง


รู้จัก 9 อาการที่ส่งสัญญาณว่าจะได้เป็นคุณแม่


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.ประจำเดือนขาด คุณแม่ที่มีรอบเดือนเป็นปกติทุกเดือน แล้วอยู่ ๆ ประจำเดือนขาดหายไป สันนิษฐานได้ในเบื้องต้นว่าอาจจะตั้งครรภ์ได้ เพราะเมื่อเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์ ร่างกายจะเพิ่มการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่าโพรเจสเทอโรน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไปหยุดยั้งการมีประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับการเป็นคุณแม่


2.ปัสสาวะบ่อย อาการปัสสาวะบ่อยเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นจากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีพื้นที่ในการรับปัสสาวะได้น้อยลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ มีผลให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นในบริเวณอุ้งเชิงกราน จึงทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะได้บ่อยมากกว่าปกติ


3.จมูกไวต่อกลิ่น เมื่อเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ จะเกิดอาการที่เรียกว่า Super Smell เป็นอาการที่จมูกจะไวต่อกลิ่นทุกชนิดเป็นพิเศษ ทำให้รู้สึกเหม็น หรือไม่ชอบกลิ่นบางชนิด ทั้ง ๆ ที่คุ้นเคยกับมันมาก่อน เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม หรือแม้แต่กลิ่นตัวคุณสามี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้


4.คลื่นไส้อาเจียน คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม หรือเรียกอาการเช่นนี้ว่าแพ้ท้องนั่นเอง โดยอาการจะเริ่มชัดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ มีสาเหตุจากฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากการตั้งครรภ์นั้นไปรบกวนระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการคลื่นไส้หรือรู้สึกพะอืดพะอมจนอยากจะอาเจียนออกมา

 

5.อยากอาหาร/เบื่ออาหาร เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การรับรู้รสชาติของคุณแม่ตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้รู้สึกว่ากินอะไรก็ไม่อร่อย มีความอยากกินของแปลก ๆ ที่ไม่เคยกิน หรืออาหารรสชาติเปรี้ยว ๆ แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายก็อาจะจะมีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากกินอะไรเลยก็มี 


6.เต้านมคัด อาการตึงคัดเต้านมเป็นอาการที่แสดงออกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์กำลังเกิดขึ้น โดยในการตั้งครรภ์ท้องแรก เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่รู้สึกคัดตึงเต้านม เจ็บบริเวณหัวนม ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถรับรู้ความรู้สึกนี้ได้ตั้งแต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก อีกทั้งยังจะสังเกตได้ว่าหัวนมขยายใหญ่ขึ้น และมีเส้นเลือดดำมาหล่อเลี้ยงเต้านมมากขึ้น


7.อ่อนเพลีย อาการอ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า พบได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นมีผลทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัวเหมือนยากล่อมประสาท ภายในร่างกายต้องใช้พลังงานอย่างมากในการพัฒนาทารกในครรภ์ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย อยากนอนทั้งวัน ซึ่งเป็นอาการเตือนให้คุณแม่ลดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลงบ้าง เพื่อการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่


8.อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ผลจากฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอารมณ์อ่อนไหว แปรปรวนหรือหงุดหงิดง่าย บางทีใครทำอะไรไม่ถูกใจเพียงเล็กน้อยก็อารมณ์เสียได้ง่าย ๆ หรือบางครั้งแค่ได้ดูได้ฟังเรื่องเศร้า ๆ หรือใครพูดอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ร้องไห้ น้ำตาซึม ปล่อยโฮกันได้ง่าย ๆ เรียกได้ว่าช่วงนี้ภาวะอารมณ์คุณแม่ตั้งครรภ์มีความแปรปรวนและเปราะบางมาก 


9.ความต้องการทางเพศลดลง คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากมีอาการแพ้ท้องที่ทำให้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และอ่อนเพลีย หรือมีความวิตกกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายที่ความต้องการทางเพศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ตรงกันข้ามกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในช่วงตั้งครรภ์ในช่วง1-3 เดือนแรก จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่กระทบไปยังภาวะทางอารมณ์ 



หากมีอาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมานี้ แนะนำให้ไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจก่อนในเบื้องต้น ถ้าขึ้น 2 ขีดชัดเจนแบบนี้ คงต้องขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณแม่มือใหม่ด้วยนะคะ แต่ควรตรวจเช็คกับคุณหมออีกครั้งเพื่อผลที่แม่นยำอีกครั้ง และฝากครรภ์ทันที


การฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างมากในการที่แพทย์จะช่วยตรวจและติดตามสุขภาพทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่ก็มีคุณแม่ที่มาคลอดโดยไม่ฝากครรภ์เลย ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้ เช่น คลอดก่อนกําหนด เกินกําหนด ตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที และควรไปพบแพทย์ตามนัดฝากครรภ์ทุกครั้ง เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้สุขภาพดีทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ 


วิธีการดูแลตัวเอง


เมื่อตรวจเช็คกับคุณหมอจนได้ผลที่ชัดเจนว่าเป็นที่เรียบร้อย "หมอขอแสดงความดีใจด้วยครับ คุณตั้งครรภ์ได้...สัปดาห์แล้ว" ก็มาถึงวิธีการดูแลตัวเอง โดยในช่วงอายุครรภ์ 1 เดือนแรกนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองให้มากขึ้นในหลาย ๆ เรื่อง ดังต่อไปนี้


1.การพักผ่อน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งครรภ์ออกมา นอกจากนี้แล้วการงีบหลับในช่วงกลางวัน ก็สามารถช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 


2.การออกกำลังกาย หากก่อนตั้งครรภ์ออกกำลังกายหนักเป็นประจำ แต่หลังจากพบว่าตั้งครรภ์แล้วอาจจะต้องลดการออกกำลังกายลงบ้าง โดยหันไปเน้นการออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนแทน เพราะการออกกำลังกายในช่วงที่ตั้งครรภ์จะช่วยลดอาการท้องผูก ตะคริว ปวดหลัง ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นและเป็นการผ่อนคลายความเครียด ป้องกันภาวะซึมเศร้าในขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยทำให้คลอดง่ายและรูปร่างคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย โดยการออกกำลังกายที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้ ได้แก่ โยคะในท่าที่ง่าย ๆ เดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ หรือเต้นรำเบา ๆ ควรจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากและมีการกระทบกระเทือนสูง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง


3.อาหาร อาหารการกินก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องให้ความสำคัญให้มาก ไม่ควรจะอดหรือควบคุมอาหารในช่วงนี้ และควรจะกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ เสริมอาหารจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม รวมทั้งกรดโฟลิกให้เพียงพอ และดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และยังส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารที่แต่งกลิ่น สี ผงชูรส หรือมีสารกันบูด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ขนมหวานและอาหารที่รสชาติหวานจัด รวมถึงยาหารือวิตามินที่ซื้อกินเอง


4.การฝากครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำการฝากครรภ์และไปพบคุณหมอให้ตรงตามนัดเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์



โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง


1.ภาวะแท้งคุกคาม การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากรกฝังตัวเจาะเข้าไปในเส้นเลือดแม่ ทำให้มีเลือดออกในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีประจำเดือน แต่ก็ไม่ควรจะให้มีเลือดออกมากเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการฉีกขาดของเส้นเลือดที่เชื่อมต่อกันระหว่างแม่กับลูก หรืออาจจะเกิดความไม่แข็งแรงของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งอาจทำให้เลือดออกและเกิดการแท้งตามมาได้ ดังนั้นหากมีเลือดสีแดงสดออกมาจากช่องคลอดในปริมาณที่มากเกินไป และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน


2.อารมณ์แปรปรวน คุณแม่ตั้งครรภ์อาจค้นพบว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหว กังวล ซึมเศร้า สับสน หรือกลัว อารมณ์แปรปรวนที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น


3.โรคภูมิแพ้ เป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตของเด็ก ๆ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ทารกที่คลอดออกมาก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดภูมิแพ้ของลูกมาจากปัจจัยหลัก คือ 


  • พันธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวทารกในครรภ์มาตั้งแต่ปฏิสนธิ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในปัจจุบันพบว่า
  • ทารกที่เกิดจากพ่อแม่ หรือพี่น้อง 1 คน เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 30-40
  • ทารกที่เกิดจากแม่ และพ่อ หรือพี่น้อง 2 คน เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 50-80
  • แม้ทารกที่เกิดจากแม่ และพ่อที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้เลย ลูกก็ยังมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 15
  • สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ สามารถหลีกเลี่ยง หรือจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหาร ขนสัตว์ ไรฝุ่น ควันบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยลดอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัวหรือนมถั่วเหลือง อาจส่งผลกระตุ้นการทำงานระบบภูมิแพ้ต่อนมวัว หรือนมถั่วเหลืองในร่างกายทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ (ปกติไม่ควรเกิน 500 ซีซี หรือ 2 แก้ว หรือกล่องต่อวัน) หรือใช้นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ (Probiotics) ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยรับรองว่าสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ดีของลูกต่ออาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังคลอดได้


ทั้งนี้ คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องโรคภูมิแพ้ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อจะได้รู้ว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้หรือไม่ให้ไวที่สุด จะได้หาทางปกป้องลูกหรือรับมือได้อย่างถูกต้อง


ดูแลตัวเองเมื่อตั้งครรภ์


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


แม้จะเป็นว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ด้วยกันทั้งคู่ แต่ถึงเวลาแล้วที่จะเตรียมความพร้อมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ในการดูแลครรภ์และวางแผนเรื่องต่าง ๆ โดยปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลมากมายให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่านหนังสือคู่มือการตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึง Happy Mom.Life ที่ได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับการตั้งครรภ์มาไว้ให้ที่นี่แล้ว


ก่อนที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ได้พัฒนาไปจนมีอวัยวะสำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่วางแผนการตั้งครรภ์ไว้ก่อนล่วงหน้า


การตั้งครรภ์ในช่วง 1 เดือนแรกนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังเจริญเติบโต ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์เอาใจใส่และดูแลอย่างเต็มที่ นอกจากตัวคุณแม่เองจะมีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว การเจริญเติบโตของทารกที่รอเวลาลืมตาดูโลกก็จะมีพัฒนาการที่ดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงนะคะ 

Related Tips

299,217
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,838
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,629
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips