คุณแม่เตรียมพร้อม ทารกในครรภ์ส่งสัญญาณเตือนใกล้คลอด

2018.09.13 35,247

คุณแม่ตั้งครรภ์ 9 เดือน


เข้าสู่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ ใกล้เวลาที่เจ้าตัวเล็กจะออกมาดูโลกภายนอกกันแล้ว Happy Mom.Life ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่มือใหม่ล่วงหน้า และสำหรับในเดือนที่ 9 นี้ คุณแม่ก็มีเรื่องให้เตรียมตัวอยู่ด้วยกันหลายเรื่องด้วยกัน รวมถึงต้องคอยสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกให้รู้ว่าใกล้คลอดแล้ว เพื่อเตรียมสภาพร่างกาย และสภาพจิตใจให้พร้อมสำหรับการคลอด


คุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


1.ท้องลด ในช่วงใกล้คลอดนี้ ทารกในครรภ์จะปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพพร้อมคลอด โดยในการคลอดท่าปกติ ศีรษะของทารกจะเริ่มเคลื่อนต่ำลงไปในอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอด หรือกรณีที่เอาก้นลง ส่วนก้นของทารกก็จะเคลื่อนสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกส่วนล่างขยายตัวเรียกว่าหัวลงต่ำ และสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ว่าท้องลด คือการที่ท้องของคุณแม่ลดต่ำลง ในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจสะดวกขึ้น

2.จุกเสียด แสบร้อนกลางอก มดลูกของคุณแม่ที่ขยายตัวขึ้นตามขนาดของทารกในครรภ์ที่โตขึ้นจนทำให้ดันกระเพาะอาหารและลำไส้คุณแม่ให้สูงขึ้น ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทำให้คุณแม่มีอาการแสบร้อนกลางอกได้ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยมื้อ และหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรนอนทันที ให้นั่งพักก่อนสักครู่ ช่วยป้องกันอาการแสบร้อนกลางอก และจุกเสียดได้

3.นอนไม่หลับ เดือนที่ 9 นี้ คุณแม่ยิ่งใกล้คลอดจะยิ่งมีความวิตกกังวลมากขึ้น บวกกับขนาดท้องที่โตมากขึ้น ยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว แถมบางทีทารกในครรภ์ยังดิ้นแรง ทำเอาคุณแม่นอนไม่หลับได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย สลัดความวิตกกังวลเรื่องต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจ และรับมือกับอาการนอนไม่หลับนี้โดยหาเวลางีบหลับบ้างในช่วงกลางวัน และอาจใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนระหว่างขาทั้งสองข้างให้สูงกว่าลำตัว ท่านอนในลักษณะนี้จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายยิ่งขึ้น 


วิธีการดูแลตัวเอง


เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว วิธีการดูแลตัวเองของคุณแม่ นอกจากการดูแลที่ทำอย่างสม่ำเสมอตลอด 8 เดือนที่ผ่านมาแล้ว ในเดือนที่ 9 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้คลอด นอกจากจัดกระเป๋าเตรียมคลอดแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยการเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม


ช่วงเวลาดี ๆ ของคุณแม่และทารกน้อย


1.ฝึกเทคนิคผ่อนคลายเจ็บท้องใกล้คลอด วิธีนี้เป็นการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อ โดยเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการฝึกให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อย ๆ คลายออก เริ่มจากการฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อไปทีละส่วน ตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศีรษะ ฝึกเกร็งและคลาย เกร็งและคลาย ตั้งแต่เท้า ขา กล้ามเนื้อสะโพก หน้าท้อง หน้าอก มือ แขน ฯลฯ

2.ฝึกควบคุมการหายใจเพื่อเตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ การฝึกลมหายใจให้ถูกจังหวะจะช่วยผ่อนอาการเจ็บปวดขณะคลอดได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการหายใจมีได้หลายวิธี เช่น ในระยะมดลูกเริ่มหดตัว ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ และผ่อนคลายออกทางปากช้า ๆ 2 ครั้ง และการฝึกเบ่งเมื่อระยะมดลูกหดตัวแรงขึ้น ซึ่งทำได้โดยฝึกหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุด กลั้นหายใจปิดปาก แล้วเบ่งลงข้างล่างบริเวณช่องคลอด ขณะเบ่งนับ 1-10 แล้วผ่อนลมหายใจออกทางปาก และหายใจเข้าเบ่งต่อ ควรฝึกทำ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและชำนาญ

3.อ่านหนังสือ ฟังเพลงทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เพราะความเครียดและวิตกกังวลนั้นไม่ส่งผลดีกับทารกในครรภ์ ดังนั้นช่วงนี้ถ้าคุณแม่เกิดอาการเครียด ควรหากิจกรรมเบา ๆ หรือการอ่านหนังสือ ฟังเพลงที่ชอบให้ผ่อนคลาย เพื่อเตรียมตัวสำหรับคลอด


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง


เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดแล้ว โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังของคุณแม่ในเดือนนี้ก็ยังคงเหมือนกับเดือนก่อน ๆ ที่ผ่านมา แต่ที่ควรใส่ใจให้มากในเดือนที่ 9 นี้ก็คือการเจ็บท้องคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ท้องเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะยังแยกไม่ออกระหว่างเจ็บท้องคลอดเตือนกับเจ็บท้องคลอดจริงว่าแตกต่างกันอย่างไร 

เจ็บท้องคลอดเตือน คือ เกิดจากการที่มดลูกขยายตัวเต็มที่ และเคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมคลอด จนมีอาการหดเกร็งตัวเป็นบางครั้ง ซึ่งอาการแสดงของเจ็บท้องเตือนมีดังนี้

  • คุณแม่จะรู้สึกเจ็บท้อง ท้องแข็ง รู้สึกปวดจี๊ด ๆ ที่ท้อง
  • มดลูกแข็งตัวจนสามารถคลำและรู้สึกได้ว่ามีก้อนแข็ง ๆ ที่หน้าท้อง
  • มีอาการท้องแข็งและเจ็บท้องที่ไม่แน่นอน ไม่มีจังหวะสม่ำเสมอ
  • เมื่อคุณแม่ได้พักผ่อนด้วยการนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ อาการท้องแข็งก็จะหายไป

เจ็บท้องคลอดจริง คือ อาการเจ็บท้องที่เกิดจากมดลูกบีบรัดตัวเพื่อจะคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการดังนี้

  • รู้สึกเจ็บท้อง มีอาการท้องแข็ง เจ็บท้องมากอยู่นาน
  • มีอาการเจ็บสม่ำเสมอ และมีอาการเจ็บที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือเจ็บนานขึ้น
  • มีอาการเจ็บท้อง ท้องแข็ง ร่วมกับมีอาการปวดบริเวณหลังร้าวลงมาถึงช่วงล่าง หรือจนถึงหน้าขา
  • มีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอด หรือมีน้ำเดิน


parenting.com


นอกจากเรื่องการเจ็บท้องคลอดแล้ว ช่วงโค้งสุดท้ายในการตั้งครรภ์เดือนที่ 9 นี้ยังมีสัญญาณอันตรายใกล้คลอดหรือภาวะแทรกซ้อนที่คุณแม่ต้องระวังอีกดังนี้

1.มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด มูกที่ว่านี่จะมีลักษณะเหนียวข้น มีสีขาว และมักจะหลุดออกมาในช่วงราว ๆ 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการคลอด เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางลง และเปิดตัวขยายมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกฉีกขาดได้ ดังนั้นหากมีมูกเลือดหลุดผสมออกมา ควรไปพบคุณหมอทันที เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่แสดงว่าใกล้คลอดแล้ว

2.ท้องเสีย เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าใกล้ที่จะคลอดแล้ว และเมื่อใกล้คลอด ร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน ซึ่งจะทำให้มดลูกหดตัว และหากแม่ท้องมีอาการท้องเสีย ก็จะทำให้ร่างกายแม่ท้องเกิดภาวะขาดน้ำ หากมีอาการท้องเสียมาก ก็จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก อันนำไปสู่การคลอดได้

3.ลูกดิ้นน้อยลง สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง เกิดจากการที่ทารกตัวโตขึ้น แต่กลับต้องอยู่ในโพรงมดลูกที่ดูเหมือนจะคับแคบลงจนทำให้ทารกในครรภ์นั้นเคลื่อนไหวได้ลำบาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าทารกมีการเจริญเติบโตที่เร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับโพรงมดลูกที่มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย อีกทั้งน้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็มีปริมาณที่จำกัดนั่นเอง

4.ปากมดลูกเปิด เมื่อปากมดลูกเริ่มเปิด นั่นคือสัญญาณเตือนของคุณแม่ว่าลูกน้อยพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว โดยปกติปากมดลูกของแม่ท้องจะมีลักษณะกลมหนา ปิดสนิทตลอดเวลาและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกของแม่ท้องจะเริ่มบางตัวและอ่อนนุ่มลงจากฮอร์โมนที่สูงขึ้นในตัวของคุณแม่ และจะค่อย ๆ เปิดกว้างจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อให้ศีรษะของทารกเคลื่อนผ่านได้ระหว่างที่ทำการคลอด

5.น้ำเดิน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอด แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าอายุครรภ์จะยังไม่ถึงกำหนดคลอดก็ตาม โดยเกิดจากการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา อาการน้ำเดินที่แม่ท้องจะรู้สึกได้คือ มีน้ำใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดในปริมาณมาก แม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด และควรนอนราบเพื่อไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกแห้งจนเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตได้


หากคุณแม่มีสัญญาณหรือภาวะดังที่กล่าวมา ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ที่กำลังจะลืมตาดูโลก เพราะนั่นเป็นการส่งสัญญาณว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้ว

คุณแม่ต้องมีเบอร์โทรศัพท์ของคุณหมอที่ดูแลครรภ์ไว้ โดยเมมไว้ในโทรศัพท์ หรือจดเบอร์โทรศัพท์ไว้ในตำแหน่งที่หยิบง่าย รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะคุณแม่อาจจะต้องของคำแนะนำจากคุณหมอเป็นอย่างมากในช่วงเดือนนี้ 


mommydocs.com


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


เพื่อไม่ให้เกิดความฉุกละหุกขึ้นมาเวลาที่เจ็บท้องคลอด ข้อควรปฏิบัติในระหว่างนี้ของคุณแม่ที่ต้องเตรียมพร้อมมีสองเรื่องหลักคือ เตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย และการเตรียมสิ่งของใช้ที่จำเป็นสำหรับตัวเองและของทารกลงกระเป๋าเตรียมคลอดที่โรงพยาบาล


เตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย


  • คุณแม่ควรไปตรวจเช็กสุขภาพครรภ์ตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง ซึ่งเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดคุณแม่ตรวจครรภ์ทุกสัปดาห์ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการเจ็บครรภ์คลอดที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณหมอจึงต้องเช็กความพร้อมของร่างกายคุณแม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้ หากมีการคลอดฉุกเฉินขึ้น และเพื่อดูอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • ในการตรวจสุขภาพก่อนถึงสัปดาห์ของการคลอด คุณหมอจะดูความพร้อมของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าที่นำศีรษะเคลื่อนกลับลงมารออยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่หรือยัง ในบางกรณีที่ทารกไม่กลับศีรษะอาจไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ ต้องใช้การผ่าคลอดเข้ามาช่วย ซึ่งหากคุณหมอทราบพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยคร่าว ๆ ก็จะง่ายต่อการประเมินในการให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดได้


เตรียมสิ่งของใช้จำเป็น

สำหรับไปคลอดที่โรงพยาบาล


คุณแม่ควรจัดกระเป๋าเตรียมตัวคลอดไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงวันครบกำหนดคลอดเพราะหากมีอาการเจ็บท้องจะได้พร้อมไปโรงพยาบาลทันที โดยสิ่งของที่คุณแม่ควรเตรียมมีดังนี้

เตรียมของใช้คุณแม่ 

1.เอกสารต่าง ๆ เช่น ใบนัดแพทย์ สมุดบันทึกการตั้งครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล บันทึกการฝากครรภ์ สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อและคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน ใช้สำหรับแจ้งเกิดลูก 

2.ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า หวี ผ้าเช็ดตัว ครีมทาผิว เครื่องสำอาง เพื่อให้คุณแม่ดูดีในยามที่เพื่อนฝูงมาแสดงความยินดีที่โรงพยาบาล

3. กางเกงใน เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก และแผ่นซับน้ำนม

4.ผ้าอนามัยแบบหนา เพื่อใช้ซึมซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ส่วนมากทางโรงพยาบาลมักจัดเตรียมไว้ให้ แต่ถ้าคุณแม่มียี่ห้อที่ใช้เป็นประจำก็ควรนำติดไปด้วย

5.เสื้อคลุมอาบน้ำ ใช้สวมหลังอาบน้ำหรือในเวลาที่คุณอยากออกไปเดินนอกห้องพักในโรงพยาบาล

6.ชุดนอน ในกรณีที่คุณแม่ไม่อยากสวมชุดคนไข้ของทางโรงพยาบาล

7.รองเท้าและถุงเท้า ควรเลือกรองเท้าแตะไม่มีส้น หรือรองเท้าแตะเพื่อสุขภาพไว้ใส่เดินไปมาทั้งในและนอกห้องพักฟื้น สำหรับคุณแม่บางคนอาจรู้สึกหนาวจนตัวสั่น เนื่องจากสูญเสียความร้อนภายในตัวจากลูกที่คลอดออกไป ควรใส่ถุงเท้าหนา ๆ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นยิ่งขึ้น

8.สิ่งของที่ช่วยผ่อนคลายระหว่างรอคลอด เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สายชาร์จ พาวเวอร์แบงค์ หนังสืออ่านเล่น กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ เพื่อแชะและแชร์แบบเรียลไทม์บนโซเชียลว่าตอนนี้มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มมาอีกหนึ่งแล้ว

9. ชุดใส่กลับบ้าน อย่าลืมจัดเสื้อผ้าสำหรับการเดินทางกลับบ้านของคุณแม่ โดยอาจเลือกเป็นกางเกงเอวยางยืด และเสื้อยืดที่สวมใส่สบาย


คุณแม่เตรียมของใช้ที่จำเป็น


เตรียมของใช้คุณลูก 

1.ผ้าห่อตัวลูก ใช้สำหรับวันออกจากโรงพยาบาลให้ลูกอุ่นสบาย

2.เสื้อผ้าเด็กทารก เช่นเสื้อ กางเกง ชุดนอน หมวกเด็กอ่อน ถุงมือและ ถุงเท้า ขอให้เตรียมไปให้พอกับจำนวนวันที่คุณแม่จะต้องอยู่ที่โรงพยาบาล และเตรียมสำหรับใส่ในวันกลับบ้านด้วย

3.ผ้าอ้อมผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับทารกแรกเกิด 

4.กระดาษเปียกหรือสำลีทำความสะอาดสำหรับเช็ดก้นทารก

5.แชมพูอาบน้ำ สระผมสำหรับทารก และผ้าเช็ดตัว สำหรับเช็ดตัวลูกหลังอาบน้ำ

6. สมุดบันทึกพัฒนาการลูกน้อย

7. Infant car seat เบาะนิรภัยสำหรับทารก เพราะระยะทางใกล้ไกลแค่ไหน ก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน


ทั้งนี้ ก่อนจัดกระเป๋าเตรียมคลอด คุณแม่ควรตรวจสอบกับโรงพยาบาลที่เตรียมไปคลอดดูว่าทางโรงพยาบาลจัดเตรียมอะไรไว้ให้บ้าง เพราะแพ็กเกจคลอดของแต่ละโรงพยาบาลนั้นแตกต่างกัน เพื่อให้การจัดกระเป๋าเตรียมคลอดนั้นง่ายขึ้น และเพื่อไม่ให้ขนของไปเกินความจำเป็น


ช่วงเวลาที่พิเศษของครอบครัว


มาถึงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ เป็นธรรมดาที่คุณแม่จะรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวลไปสารพัด แต่ถ้าเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวล จำไว้ว่าการคลอดเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สุดในชีวิต ทำใจให้สบายแล้วรอรับขวัญเจ้าตัวเล็กที่กำลังจะลืมตามาดูโลกกันดีกว่า...อุแว๊ ๆ ๆ 


 Credit Image: bubhub.com.au, healthtap.com, huffpost.com

Related Tips

299,216
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,786
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,607
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips