ระวัง! อาการแทรกซ้อนที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด

2018.01.29 22,782

คุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน


การเตรียมตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์ 7 เดือนไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่ว่าควรเตรียมตัวที่จะรับกับอาการที่จะตามมาเพราะยิ่งมีอายุครรภ์ที่มากและยิ่งเป็นตั้งครรภ์ระหว่าง 7 เดือนก็ยิ่งจะทำให้มีอาการต่าง ๆ เข้ามากวนใจคุณแม่หลายอย่าง  ตามHappy Mom.Life ไปดูกันว่าในช่วงเดือนนี้คุณแม่มีอาการอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือกับการตั้งครรภ์ในช่วงนี้ได้อย่างมีคุณภาพ


ระวัง! อาการแทรกซ้อนที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.นอนไม่หลับ เพราะคุณแม่มีท้องที่ใหญ่และเริ่มรู้สึกอุ้ยอ้ายอึดอัด ทำให้นอนหลับได้ไม่สบายตัว คุณแม่จึงไม่สามารถนอนหลับสนิทได้ตลอดคืน หากคุณแม่มีอาการเพลียง่วงนอนตอนกลางวันเพราะนอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรหาเวลางีบหลับกลางวันบ้างสักพัก เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย จนไม่สบายหรือหน้ามืดเป็นลม


2.ร่างกายเริ่มสร้างน้ำนม ร่างกายของคุณแม่จะมีการเริ่มสร้างหัวน้ำนมขึ้นแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับลูกน้อย หากบังเอิญมีการคลอดก่อนกำหนด และเพื่อสร้างสะสมไว้ให้ลูก คุณแม่จึงอาจสังเกตเห็นว่ามีน้ำนมสีเหลืองใส ๆ ออกมาจากหัวนมได้


3.ปวดหลัง เนื่องจากร่างกายคุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับที่กระดูกเชิงกรานซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักด้านล่างมีการขยายตัวเตรียมคลอด ทำให้หลังของคุณแม่ต้องรับน้ำหนักเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ฐานรับน้ำหนักกระดูกสันหลังที่กระดูกเชิงกรานมีการเคลื่อนตัวคลอนแคลน ทำให้คุณแม่ปวดหลัง และอาจรู้สึกปวดกระดูกหัวหน่าวและบริเวณก้นกบได้อีกด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการปวดมากขึ้น คุณแม่จึงควรสวมรองท้าเตี้ย ๆ ที่เดินสบาย เดิน นั่ง ยืนให้ถูกท่า ไม่เปลี่ยนอิริยาบถทันที ไม่ยกของหนัก และไม่นั่งเก้าอี้หรือนอนเตียงที่นุ่มจนเกินไป ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอาการปวดหลังมากขึ้น


คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการปวดหลัง


4.ครรภ์เป็นพิษ ในช่วงตั้งครรภ์คุณหมอควรหมั่นเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหากมีภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเป็นครรภ์เป็นพิษ โดยจะมีอาการบวมมากที่บริเวณใบหน้า แขนและขา เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว  น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว มีความดันโลหิตสูง และหากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดอาการชักและหมดสติ จนถึงกับคลอดก่อนกำหนด คุณแม่และลูกน้อยมีภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย

ครรภ์เป็นพิษ จึงเป็นภาวะเสี่ยงที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นไปฝากครรภ์สม่ำเสมอ ไปพบแพทย์และปรึกษากรณีมีอาการผิดปกติต่างๆ คอยสังเกตร่างกายว่าบวมมากเกินไปหรือไม่ ปวดศีรษะเวียนหัวผิดปกติหรือเปล่า เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงจนไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที


5.ถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น อาการถ่ายปัสสาวะบ่อยจะกลับมาหาคุณแม่อีกครั้งในช่วงนี้ เพราะมดลูกที่ขยาย ประกอบกับน้ำหนักตัว และการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์จะไปกดลงบนกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ ทำให้คุณแม่มีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น


6.ขาและเท้าบวม ขาและเท้าของคุณแม่ท้อง ต้องรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ แถมยังต้องเดิน ยืน และอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้ขาของคุณแม่อาจจะมีทั้งเส้นเลือดขอดและเกิดอาการปวดเมื่อยล้าไปทั่วขาได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 7-8-9 ซึ่งคุณแม่มักจะมีอาการขาและเท้าบวม เพราะร่างกายสะสมน้ำไว้มาก อาจจะสังเกตได้จากแหวนที่คับมากขึ้น


7. ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหารมาก และท้องผูก ยังคงเป็นอาการที่รบกวนคุณแม่อยู่ ขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะดันกระเพาะอาหารขึ้นไป หากคุณแม่รับประทานอาหารแล้วแน่นท้องมาก ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ อีกครั้งในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์นี้


8.ผื่นหรือสิว ผิวหนังของคุณแม่จะแพ้ง่ายมากในช่วงนี้ อาจมีผื่นขึ้น หรือเป็นสิว ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากเป็นมากควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง


9.อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกาย รก และทารก ดังนั้นอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่มักจะสูงกว่าปกติประมาณ 10 – 15 ครั้งต่อนาที คุณแม่บางคนอาจถูกตรวจพบว่ามีเสียงผิดปกติของการเต้นของหัวใจ แต่อาการจะหายไปเมื่อคลอดแล้ว


วิธีการดูแลตัวเอง


การดูแลสุขภาพคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ทำให้นอนหลับเพียงพอ ก็จะสามารถทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแล้วแต่ว่า ช่วงครรภ์ 7 เดือนเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงนี้คุณแม่จะอดนอนมากที่สุดและยิ่งอดนอนมากก็ยิ่งทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เพราะว่าขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นและวิธีการนอนที่ลำบากมากขึ้น ดังนั้นวิธีการควรหามุมที่นอนสบายที่สุดและมีการหาเพลงเบา ๆ มาฟังให้สบายใจ อาจจะเป็นนำหนังสือมาอ่านคลายเครียด หรือว่าดูรายการสนุก ๆ ที่ไม่เครียด เพราะหลังจากที่ดูหรืออ่านจะเกิดอาการง่วงและหลับไปเลย จะเป็นการดีกว่าการฝืนตัวนอนจะเกิดความเครียดโดยใช่เหตุ


ทารกในครรภ์เจริญเติบโตตามอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น

 

และถึงแม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายแล้วก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ และทารกในครรภ์ก็ยังต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่เหมือนเดิม ยิ่งในคุณแม่จะต้องทานอาหารที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปจากร่างกาย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งสารอาหารทั้งสองอย่างนื้ทารกจะดึงเอาจากร่างกายของคุณแม่ไปเพื่อใช้ในการสร้างกระดูก ส่วนธาตุเหล็กจะนำไปสร้างเม็ดเลือดให้กับทารก ดังนั้นคุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารทั้งแคลเซียม ธาตุเหล็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนม การทานเนื้อสัตว์ ธัญพืช ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก งาดำ โยเกิร์ต เป็นต้น



โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

 

คุณแม่ควรระวังอาการแทรกซ้อน เช่น การคลอดก่อนกำหนด อาการปวดท้องต่างๆ ที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดควรมีการระวังให้ดีเพราะว่า ช่วงนี้อยู่ในช่วงใกล้คลอดแล้วดังนั้นก่อนจะทำอะไรควรดูให้ดีก่อนที่จะทำนั่นเพราะว่า อาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ และต่อตัวคุณแม่


การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) 


การคลอดก่อนกำหนดคือ การคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุเหล่านี้


  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • ครรภ์แฝด
  • ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องในขณะตั้งครรภ์ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
  • มีน้ำคร่ำปริมาณมากหรือน้อยเกินไป
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 16 สัปดาห์
  • คุณแม่อายุน้อยกว่า 16 ปี เนื่องจากว่าร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ที่จะตั้งครรภ์ ทำให้โอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูง
  •  คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุเกิน 35 ปี         
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทำงานที่ต้องออกแรงมาก ๆ หรือยืนตลอดเวลา
  • รับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อทารกในครรภ์
  • ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยมีรายงานระบุว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดมักได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ
  • การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-3 เดือนก่อนถึงกำหนดคลอด
  • การติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ เป็นต้น เพราะหากติดเชื้อดังกล่าว ระบบธรรมชาติจะพยายามขับเด็กออก ซึ่งทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท
  • มดลูกไวต่อการกระตุ้น ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกได้ง่าย และรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
  • ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก จะต้องรักษาโดยให้นอนอยู่บนเตียงหรือนอนพักในโรงพยาบาล
  • ความเครียด
  • คุณแม่ที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด


ดูแลทารกในครรภ์


อาการแสดงของการคลอดก่อนกำหนด หากมีอาการเหล่านี้ (อาการใดอาการหนึ่ง) ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

  • มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ปวดเกร็งท้องน้อย โดยไม่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาหารไม่ย่อย
  • ปวดหลัง หรือรู้สึกมีอะไรกดทับบริเวณก้น
  • ปวดถ่วงท้องน้อย ปวดร้าวที่ขาหนีบและหน้าขา
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีสีน้ำตาลปนเลือด อาจมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา แสดงอาการเปิดของมดลูก
  • มีการแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำ


นอกจากการคลอดก่อนกำหนดแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบด้วย เพราะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเท่านั้น เป็นธรรมดาที่จะขี้เกียจเดินบ่อย ๆ เลยอั้นเอาไว้ซะเลย ซึ่งรู้ไหมว่าเป็นวิธีที่ไม่ดีเลย เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบด้วย คุณแม่จะปวดท้องตลอดเวลา ปวดปัสสาวะบ่อยเกินจำเป็นแถมยังทำให้ ปล่อยออกไม่สุดด้วย มันเหมือนยังคาราคาซังเมื่อเป็นแล้วจะนำไปสู่การติดเชื้อได้ด้วย เริ่มจากมีไข้สูงเนื่องจากการอักเสบลามไปถึงไต เพราะฉะนั้นหากไม่อยากเป็นโรคทางเดินปัสสาวะ ห้ามอั้นเด็ดขาดหากว่าเดินไม่ไหว ให้ใช้แพมเพิสสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งสามารถจะช่วยได้เยอะ เพียงแค่หมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีเท่านั้นเอง


 ถ้าหากรู้ว่าในตอนกลางคืนจะมีการเข้านอนก็ไม่ควรที่จะรับประทานน้ำดื่มเป็นจำนวนมากก่อนนอนหลับเพราะว่าอาจจะส่งผลต่อคุณแม่ได้และทารกได้ เนื่องมาจากการกั้นปัสสาวะที่จะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบและเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาอีกเมื่อเชื้อลามเข้าไปสู่ตัวทารกภายในครรภ์ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 7 เดือนไม่ควรอั้นปัสสาวะเด็ดขาด 


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


1. ต้องรู้จักอาการเจ็บครรภ์เตือน อาการเจ็บครรภ์เตือน เป็นอาการเจ็บท้องเกิดขึ้นจากการที่มดลูกมีการบีบรัดตัว คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบทารกตึงและแข็งขึ้น อาการที่มดลูกบีบตัวนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ในช่วงไตรมาสที่สามนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นอาการเจ็บเตือนและเจ็บครรภ์จะคลอดจริงๆนั้น แตกต่างกันตรงที่ เจ็บเตือนนั้นปากมดลูกยังคงปิดสนิท แต่เจ็บจริงปากมดลูกจะเปิดออก อาการเจ็บเตือนมดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอจะเกิดขึ้นเมื่อใด เวลาใดก็ได้ แต่เจ็บจริงนั้น มดลูกจะหดรัดตัวสม่ำเสมอ และถี่มากขึ้น เจ็บนานขึ้น มดลูกอาจบีบตัวอยู่นานถึงสองนาทีและรุนแรงมากขึ้น การเจ็บเตือนเหมือนเป็นการซ้อมความพร้อมของการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ในการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้น


2. รู้ทางเลือกในการคลอดบุตร ในกรณีที่การตั้งครรภ์เป็นปกติ คุณแม่สามารถเลือกที่จะคลอดทารกทางช่องคลอดแบบธรรมชาติโดยไม่ใช้เทคโนโลยีใด ๆเข้ามาช่วยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ โรงพยาบาลมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครันที่จะเตรียมพร้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาระงับความรู้สึก อุปกรณ์ช่วยในการคลอดในกรณีที่คลอดยากเช่น คีม (Forceps) แวคคูอัม (Vacuum) หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะที่ต้องทำการช่วยเหลือในทันทีต้องผ่าตัดออกมาก็สามารถใช้ห้องผ่าตัดได้เลย


ในเดือนที่ 7 นี้คุณแม่ยังเดินทางท่องเที่ยว หรือใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับความกระทบกระเทือน เพราะอีกนิดเดียวเท่านั้นก็จะเข้าสู่อายุครรภ์ที่ 8 และ 9 ช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ได้พบเจอกับเจ้าตัวเล็กแล้ว

Related Tips

299,220
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,869
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,631
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips