สื่อสารกับทารกในครรภ์ ด้วยเสียงและสัมผัสรักจากแม่

2018.01.29 554

คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน


คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน เรียกได้ว่าเดินทางมาเดินครึ่งทางแล้ว แน่นอนว่าเดือนนี้ก็ยังเป็นอีกเดือนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์และสุขภาพที่แข็งแรงของทารกในครรภ์ และนับวันเวลาที่ลูกจะออกมาสู่โลกภายนอก โดยในช่วงเดือนนี้ คุณแม่จะมีอาการและความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ตาม Happy Mom.Life ไปดูกันเลย



อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณแม่ท้องช่วงนี้อาจมีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เกิดจากกล้ามเนื้อในทางเดินระบบปัสสาวะหย่อนตัวลงได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้พียงพอ ไม่อั้นปัสสาวะ และหารู้สึกปัสสาวะแสบขัด ควรไปพบแพทย์


2.รู้สึกแสบกระเพาะอาหาร เนื่องจากกรดที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะของคุณแม่ลดน้อยลง ทำให้อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น นอกจากนี้เวลาที่ลูกดิ้นยังทำให้เกิดการกดทับของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นกรดไหลย้อนจนทำให้คุณแม่รู้สึกแสบร้อนกระเพาะอาหาร และอาจมีอาการท้องผูกร่วมได้อีกด้วย


3.ปวดชายโครง เพราะขนาดของท้องคุณแม่ที่ใหญ่ขึ้นจนเข้าใกล้ชายโครง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บปวดและเสียดชายโครงด้านใดด้านหนึ่งได้


4.น้ำหนักขึ้นเร็ว ช่วงนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นรวดเร็วกว่าในช่วง 3 เดือนแรกค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นถึงประมาณสัปดาห์ละ ½ กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยลูกน้อยของคุณแม่จะแบ่งน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงเดือนที่ 4-5-6 นี้ประมาณ 1 กิโลกรัม นอกนั้นจะเป็นน้ำหนักของรก น้ำคร่ำ น้ำหนักของเต้านมที่ขยาย น้ำหนักของมดลูก รวมทั้งปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้น


5.ตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป มักจะเริ่มมีอาการตะคริว ที่เกิดจากการหดรัดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา และปลายเท้า ซึ่งจะเป็นได้บ่อยเวลากลางคืน สาเหตุเกิดจากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และอาจยืนหรือเดินมากเกินไป วิธีแก้ไขคือ เมื่อเป็นตะคริวควรรีบกระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อที่จับตัวแข็งเป็นก้อนคลายตัวและเหยียดออก รวมทั้งควรดื่มนมหรือกินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากเพียงพอ


6.เส้นเลือดขอด เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น ทำให้มดลูกขยายใหญ่ จนไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ส่งผลให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น และหลอดเลือดเล็กๆ บริเวณโคนขาและน่องของคุณแม่ โป่งพอง จนเห็นเป็นเส้นเลือดขอด วิธีการดูแลหรือป้องกันคือ ไม่นั่งหรือยืนห้อยขานานๆ และเวลานอนควรหนุนเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมาที่หัวใจได้ดีขึ้น


7.ท้องอืด แน่นท้อง เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหารในร่างกายคุณแม่ ทำให้ย่อยอาหารได้ช้าลง หรือใช้เวลานานขึ้น  หลังอาหารคุณแม่จึงมักมีอาการแน่นท้องท้องอืดง่าย จึงควรป้องกันแก้ไขด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย กินในปริมาณน้อยๆ ในแต่ละครั้ง แต่แบ่งเป็นทานหลายๆ มื้อ เพื่อไม่ให้รู้สึกแน่นท้องหรือท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อยค่ะ


8.ปวดเสียดท้องน้อย เกิดจากการที่มดลูกของคุณแม่มีอาการหดเกร็ง เพราะคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถในทันทีทันใด เช่น ลุกนั่งเร็วๆ หรือยืนทันที ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดเสียดบริเวณท้องน้อย


9.ผิวคล้ำ มีเส้นดำกลางท้อง ผิวพรรณของคุณแม่ท้องช่วงนี้อาจจะมีสีคล้ำขึ้น ใบหน้าดูคล้ำขึ้น หรือมีฝ้า กระขึ้น มีรอยดำตามข้อพับ รักแร้ และเริ่มเห็นเส้นดำกลางท้องที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเส้นดำใต้สะดือลงไป


วิธีการดูแลตัวเอง


ในช่วนี้ทารกในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงที่ได้จากเนื้อสัตว์ และถั่ว ธาตุเหล็กที่หาทานได้จากตับ ไข่ และอาหารที่อุดมมากพร้อมไปด้วยเส้นใย เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ทานน้ำเยอะ ๆ เพราะจะช่วยในเรื่องอาการท้องผูกในคุณแม่ตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารให้ครบหมู่ก็จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับสารที่ดีมีประโยชน์ และก็สามารถพัฒนาการเติบโตได้เป็นอย่างดี


คุณแม่ตั้งงครรภ์รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 


  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ควรเสริมธาตุเหล็กให้ได้มากที่สุด
  • ควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว
  • อาจจะรู้สึกคันหน้าท้องที่ขยายและแตก ควรใช้ครีมบำรุงทาบ่อย ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมออย่าหักโหม
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

 

1. ภาวะครรภ์เป็นพิษ Preeclampsia เป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก และมักพบหลังจากอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการของ preeclampsia ได้แก่ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกิดจากน้ำในร่างกายไม่ใช่จากการเจริญเติบโตของทารก) ข้อต่างๆ รวมถึงมือและเท้าบวม ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmhq ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย Preeclampsia นั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่สามารถรักษาได้ เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นคุณแม่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จะต้องนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลา ต้องได้รับการดูแลเฝ้าระวังระดับของโซเดียมในร่างกาย และจะต้องได้รับยาที่จะช่วยลดความดันโลหิตลงมา ซึ่งมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะนี้ แต่คุณหมอจำเป็นจะต้องตรวจดูอย่างละเอียดก่อนที่จะกลายเป็นภาวะ Eclampsia เพราะถ้าหากคุณมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 mmhq หรือมากกว่าจะทำให้เกิดอันตรายกับระบบประสาทได้ เช่น ทำให้ชัก โคม่า ทำให้ไตล้มเหลวและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว แต่อาการอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากเมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ หากเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 แพทย์อาจแนะนำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยทำการผ่าตัดคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Preeclampsia ที่ไม่รุนแรงบางครั้งเมื่อคลอดแล้วระดับของความดันโลหิตจะลดลงสู่ปกติได้โดยเร็ว บางทีในวันแรกที่คลอดเลยด้วยซ้ำ


2. ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด โดยปกติแล้วในระหว่างการตั้งครรภ์ปากมดลูกจะปิดอยู่เสมอจนกระทั่งเริ่มเจ็บครรภ์จะคลอด ปากมดลูกจึงจะเริ่มเปิดออก ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเกิดจากการที่ทารกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นและมีแรงกดดันลงไปที่ปากมดลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้ การแท้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ แต่ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุของการแท้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากทารกยังไม่พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอก ถ้าปากมดลูกเปิดโดยที่ไม่มีการบีบรัดตัวของมดลูกแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน การมีเลือดออกทางช่องคลอดก็เป็นอาการแสดงของการที่กำลังจะแท้งซึ่งเกิดจากปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


คุณแม่ตั้งครรภ์พอเข้าสู่เดือนที่ 6 ก็เริ่มที่จะอยากนำสารอาหารต่าง ๆเพื่อเข้ามาเสริมร่างกายจะได้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารบำรุงของคนท้องต่าง ๆ แต่รู้บ้างไหมว่าการที่คุณแม่จะมีสุขภาพแข็งแรงนั้นไม่ได้เกี่ยวแต่อาหารเสริมอย่างเดียว เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประจำวันด้วย โดยคุณแม่บางรายมีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดในเดือนที่ 7 ฉะนั้นในเดือนที่ 6 ควรจะเตรียมความพร้อมเอาไว้แต่เนิ่น ๆ พร้อม ๆ กับสามารถกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ด้วยการปฏิบัติ ดังนี้


1.การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาการไว้ให้มากเพราะจะได้มีการขับถ่ายที่ง่ายไม่ท้องผูกเพราะอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์นับว่าทรมานมากเพราะการเบ่งจะปวดท้องไปด้วยเนื่องจากทารกได้มีการถูกเบ่ง ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารและทานให้ครบ 5 หมู่ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้ามีการทานน้ำดื่มที่สะอาดวันละ 8-10 แก้ว เพราะร่างกายของคุณแม่ต้องการน้ำและวิตามินเสริมต่าง ๆ เช่น แคลเซียม


2.การพักผ่อน คุณแม่จะมีสุขภาพดีได้ จากการที่คุณแม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่มีเรื่องเครียดกวนใจเข้ามา ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะวางตัวในการนอนหลับให้สนิท เปิดเพลงฟังเพราะ ๆ เบา ๆ ให้ได้มีความสุข ซึ่งการที่คุณแม่มีความสุข ทารกที่เกิดมาจะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย สมาธิไม่สั้น ไม่ขี้งอแง ต่างจากการเลี้ยงเด็กที่คุณแม่มีภาวะเครียดอยู่ตลอดเวลา เพราะความเครียดส่งผลอย่างแรงต่อทารกภายในครรภ์


3.การพูดคุยกับทารกในครรภ์ ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะมากในการเสริมพัฒนาการทางด้านสมองของทารก ซึ่งสิ่งที่สามารถช่วยได้ในเรื่องนี้ก็คือ การพูดคุยกับทารกพร้อม ๆ กับการลูบท้อง ทารกสามารถได้ยินเสียงและรับรู้ถึงการสัมผัสผ่านหน้าท้องของคุณแม่ได้


พูดคุยกับทารกในครรภ์


คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังเพลงเพราะ ๆ ฟังสบาย


ที่แนะนำให้ทำกันอีกอย่างก็คือ การใช้ดนตรีเพื่อเสริมพัฒนาการของทารกตั้งแต่ในครรภ์ ด้วยดนตรีที่มีท่วงทำนองฟังสบาย ๆ อย่างเพลงคลาสสิก หรือเพลงประเภทผ่อนคลาย ที่มีงานวิจัยพบว่า มีส่วนกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของทารกให้รุดหน้าได้


สำหรับเดือนที่ 6 นี้คุณแม่จะสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ได้ เพราะเป็นช่วงที่เขาพัฒนาความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ มีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทเริ่มสมบูรณ์จนสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ทำให้ดิ้น หรือพลิกตัวได้ดีขึ้น รวมถึงมีพัฒนาการทางสมองที่อยู่ในระดับเดียวกับทารกหลังคลอดเลยทีเดียว สามารถทำงาน เรียนรู้ จดจำ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกได้เองแล้ว ดังนั้นในช่วงนี้ อยากขอให้คุณแม่หันมาใส่ใจและสนุกไปกับการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยในครรภ์ 6 เดือนมากขึ้นเป็นพิเศษ พูดกับลูกเพราะตอนนี้เขาได้ยินเสียงและรับรู้ถึงการสื่อสารของคุณแม่ได้แล้ว

Related Tips

299,237
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
278,103
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,690
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips