สื่อสารกับทารกในครรภ์ ด้วยเสียงและสัมผัสรักจากแม่

2018.01.29 554

คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน


คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน เรียกได้ว่าเดินทางมาเดินครึ่งทางแล้ว แน่นอนว่าเดือนนี้ก็ยังเป็นอีกเดือนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์และสุขภาพที่แข็งแรงของทารกในครรภ์ และนับวันเวลาที่ลูกจะออกมาสู่โลกภายนอก โดยในช่วงเดือนนี้ คุณแม่จะมีอาการและความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ตาม Happy Mom.Life ไปดูกันเลย



อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณแม่ท้องช่วงนี้อาจมีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เกิดจากกล้ามเนื้อในทางเดินระบบปัสสาวะหย่อนตัวลงได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้พียงพอ ไม่อั้นปัสสาวะ และหารู้สึกปัสสาวะแสบขัด ควรไปพบแพทย์


2.รู้สึกแสบกระเพาะอาหาร เนื่องจากกรดที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะของคุณแม่ลดน้อยลง ทำให้อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น นอกจากนี้เวลาที่ลูกดิ้นยังทำให้เกิดการกดทับของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นกรดไหลย้อนจนทำให้คุณแม่รู้สึกแสบร้อนกระเพาะอาหาร และอาจมีอาการท้องผูกร่วมได้อีกด้วย


3.ปวดชายโครง เพราะขนาดของท้องคุณแม่ที่ใหญ่ขึ้นจนเข้าใกล้ชายโครง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บปวดและเสียดชายโครงด้านใดด้านหนึ่งได้


4.น้ำหนักขึ้นเร็ว ช่วงนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นรวดเร็วกว่าในช่วง 3 เดือนแรกค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นถึงประมาณสัปดาห์ละ ½ กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยลูกน้อยของคุณแม่จะแบ่งน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงเดือนที่ 4-5-6 นี้ประมาณ 1 กิโลกรัม นอกนั้นจะเป็นน้ำหนักของรก น้ำคร่ำ น้ำหนักของเต้านมที่ขยาย น้ำหนักของมดลูก รวมทั้งปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้น


5.ตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป มักจะเริ่มมีอาการตะคริว ที่เกิดจากการหดรัดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา และปลายเท้า ซึ่งจะเป็นได้บ่อยเวลากลางคืน สาเหตุเกิดจากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และอาจยืนหรือเดินมากเกินไป วิธีแก้ไขคือ เมื่อเป็นตะคริวควรรีบกระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อที่จับตัวแข็งเป็นก้อนคลายตัวและเหยียดออก รวมทั้งควรดื่มนมหรือกินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากเพียงพอ


6.เส้นเลือดขอด เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น ทำให้มดลูกขยายใหญ่ จนไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ส่งผลให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น และหลอดเลือดเล็กๆ บริเวณโคนขาและน่องของคุณแม่ โป่งพอง จนเห็นเป็นเส้นเลือดขอด วิธีการดูแลหรือป้องกันคือ ไม่นั่งหรือยืนห้อยขานานๆ และเวลานอนควรหนุนเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมาที่หัวใจได้ดีขึ้น


7.ท้องอืด แน่นท้อง เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหารในร่างกายคุณแม่ ทำให้ย่อยอาหารได้ช้าลง หรือใช้เวลานานขึ้น  หลังอาหารคุณแม่จึงมักมีอาการแน่นท้องท้องอืดง่าย จึงควรป้องกันแก้ไขด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย กินในปริมาณน้อยๆ ในแต่ละครั้ง แต่แบ่งเป็นทานหลายๆ มื้อ เพื่อไม่ให้รู้สึกแน่นท้องหรือท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อยค่ะ


8.ปวดเสียดท้องน้อย เกิดจากการที่มดลูกของคุณแม่มีอาการหดเกร็ง เพราะคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถในทันทีทันใด เช่น ลุกนั่งเร็วๆ หรือยืนทันที ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดเสียดบริเวณท้องน้อย


9.ผิวคล้ำ มีเส้นดำกลางท้อง ผิวพรรณของคุณแม่ท้องช่วงนี้อาจจะมีสีคล้ำขึ้น ใบหน้าดูคล้ำขึ้น หรือมีฝ้า กระขึ้น มีรอยดำตามข้อพับ รักแร้ และเริ่มเห็นเส้นดำกลางท้องที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเส้นดำใต้สะดือลงไป


วิธีการดูแลตัวเอง


ในช่วนี้ทารกในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงที่ได้จากเนื้อสัตว์ และถั่ว ธาตุเหล็กที่หาทานได้จากตับ ไข่ และอาหารที่อุดมมากพร้อมไปด้วยเส้นใย เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ทานน้ำเยอะ ๆ เพราะจะช่วยในเรื่องอาการท้องผูกในคุณแม่ตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารให้ครบหมู่ก็จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับสารที่ดีมีประโยชน์ และก็สามารถพัฒนาการเติบโตได้เป็นอย่างดี


คุณแม่ตั้งงครรภ์รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 


  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ควรเสริมธาตุเหล็กให้ได้มากที่สุด
  • ควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว
  • อาจจะรู้สึกคันหน้าท้องที่ขยายและแตก ควรใช้ครีมบำรุงทาบ่อย ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมออย่าหักโหม
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

 

1. ภาวะครรภ์เป็นพิษ Preeclampsia เป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก และมักพบหลังจากอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการของ preeclampsia ได้แก่ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกิดจากน้ำในร่างกายไม่ใช่จากการเจริญเติบโตของทารก) ข้อต่างๆ รวมถึงมือและเท้าบวม ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmhq ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย Preeclampsia นั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่สามารถรักษาได้ เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นคุณแม่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จะต้องนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลา ต้องได้รับการดูแลเฝ้าระวังระดับของโซเดียมในร่างกาย และจะต้องได้รับยาที่จะช่วยลดความดันโลหิตลงมา ซึ่งมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะนี้ แต่คุณหมอจำเป็นจะต้องตรวจดูอย่างละเอียดก่อนที่จะกลายเป็นภาวะ Eclampsia เพราะถ้าหากคุณมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 mmhq หรือมากกว่าจะทำให้เกิดอันตรายกับระบบประสาทได้ เช่น ทำให้ชัก โคม่า ทำให้ไตล้มเหลวและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว แต่อาการอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากเมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ หากเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 แพทย์อาจแนะนำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยทำการผ่าตัดคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Preeclampsia ที่ไม่รุนแรงบางครั้งเมื่อคลอดแล้วระดับของความดันโลหิตจะลดลงสู่ปกติได้โดยเร็ว บางทีในวันแรกที่คลอดเลยด้วยซ้ำ


2. ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด โดยปกติแล้วในระหว่างการตั้งครรภ์ปากมดลูกจะปิดอยู่เสมอจนกระทั่งเริ่มเจ็บครรภ์จะคลอด ปากมดลูกจึงจะเริ่มเปิดออก ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเกิดจากการที่ทารกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นและมีแรงกดดันลงไปที่ปากมดลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้ การแท้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ แต่ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุของการแท้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากทารกยังไม่พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอก ถ้าปากมดลูกเปิดโดยที่ไม่มีการบีบรัดตัวของมดลูกแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน การมีเลือดออกทางช่องคลอดก็เป็นอาการแสดงของการที่กำลังจะแท้งซึ่งเกิดจากปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


คุณแม่ตั้งครรภ์พอเข้าสู่เดือนที่ 6 ก็เริ่มที่จะอยากนำสารอาหารต่าง ๆเพื่อเข้ามาเสริมร่างกายจะได้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารบำรุงของคนท้องต่าง ๆ แต่รู้บ้างไหมว่าการที่คุณแม่จะมีสุขภาพแข็งแรงนั้นไม่ได้เกี่ยวแต่อาหารเสริมอย่างเดียว เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในประจำวันด้วย โดยคุณแม่บางรายมีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดในเดือนที่ 7 ฉะนั้นในเดือนที่ 6 ควรจะเตรียมความพร้อมเอาไว้แต่เนิ่น ๆ พร้อม ๆ กับสามารถกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ด้วยการปฏิบัติ ดังนี้


1.การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาการไว้ให้มากเพราะจะได้มีการขับถ่ายที่ง่ายไม่ท้องผูกเพราะอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์นับว่าทรมานมากเพราะการเบ่งจะปวดท้องไปด้วยเนื่องจากทารกได้มีการถูกเบ่ง ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารและทานให้ครบ 5 หมู่ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้ามีการทานน้ำดื่มที่สะอาดวันละ 8-10 แก้ว เพราะร่างกายของคุณแม่ต้องการน้ำและวิตามินเสริมต่าง ๆ เช่น แคลเซียม


2.การพักผ่อน คุณแม่จะมีสุขภาพดีได้ จากการที่คุณแม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่มีเรื่องเครียดกวนใจเข้ามา ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะวางตัวในการนอนหลับให้สนิท เปิดเพลงฟังเพราะ ๆ เบา ๆ ให้ได้มีความสุข ซึ่งการที่คุณแม่มีความสุข ทารกที่เกิดมาจะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย สมาธิไม่สั้น ไม่ขี้งอแง ต่างจากการเลี้ยงเด็กที่คุณแม่มีภาวะเครียดอยู่ตลอดเวลา เพราะความเครียดส่งผลอย่างแรงต่อทารกภายในครรภ์


3.การพูดคุยกับทารกในครรภ์ ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะมากในการเสริมพัฒนาการทางด้านสมองของทารก ซึ่งสิ่งที่สามารถช่วยได้ในเรื่องนี้ก็คือ การพูดคุยกับทารกพร้อม ๆ กับการลูบท้อง ทารกสามารถได้ยินเสียงและรับรู้ถึงการสัมผัสผ่านหน้าท้องของคุณแม่ได้


พูดคุยกับทารกในครรภ์


คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังเพลงเพราะ ๆ ฟังสบาย


ที่แนะนำให้ทำกันอีกอย่างก็คือ การใช้ดนตรีเพื่อเสริมพัฒนาการของทารกตั้งแต่ในครรภ์ ด้วยดนตรีที่มีท่วงทำนองฟังสบาย ๆ อย่างเพลงคลาสสิก หรือเพลงประเภทผ่อนคลาย ที่มีงานวิจัยพบว่า มีส่วนกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของทารกให้รุดหน้าได้


สำหรับเดือนที่ 6 นี้คุณแม่จะสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ได้ เพราะเป็นช่วงที่เขาพัฒนาความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ มีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทเริ่มสมบูรณ์จนสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ทำให้ดิ้น หรือพลิกตัวได้ดีขึ้น รวมถึงมีพัฒนาการทางสมองที่อยู่ในระดับเดียวกับทารกหลังคลอดเลยทีเดียว สามารถทำงาน เรียนรู้ จดจำ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกได้เองแล้ว ดังนั้นในช่วงนี้ อยากขอให้คุณแม่หันมาใส่ใจและสนุกไปกับการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยในครรภ์ 6 เดือนมากขึ้นเป็นพิเศษ พูดกับลูกเพราะตอนนี้เขาได้ยินเสียงและรับรู้ถึงการสื่อสารของคุณแม่ได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,207
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,649
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,583
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่