รับมืออาการแพ้ท้องในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์

2018.09.19 15,351

คุณแม่อายุครรภ์ 2 เดือน


เข้าสู่เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์กันแล้วนะคะ แม้ว่าคุณแม่บางคนจะยังดูไม่ออกหรือรู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่เหมือนคนท้องสักเท่าไหร่ เพราะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การตั้งครรภ์ 2 เดือนก็นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและยังเป็นอายุครรภ์ที่บอบบางมาก ๆ ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เซลล์สมองมีการพัฒนามากขึ้นไปตามลำดับ ขณะเดียวกันอาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 1 เดือนก็ยังคงมีอยู่ โดยบางอาการเริ่มแสดงให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น เช่น อาการแพ้ท้อง 


รับมืออาการแพ้ท้องในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 


1.แพ้ท้อง อาการแพ้ท้องเป็นอาการที่พบเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน สาเหตุเกิดจากฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ซึ่งมีเฉพาะช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น กระตุ้นร่างกายให้หลั่งน้ำมากขึ้น เช่น น้ำลาย กรดในกระเพาะ แถมกระตุ้นให้ทางเดินอาหารบีบตัว จนเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน รวมถึงกินได้น้อยลง คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการน้อย แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงค่อนข้างมาก แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ (4-6 เดือน) อาการแพ้ท้องเหล่านี้จะหายไปเอง โดยอาการสำคัญที่บ่งบอกว่าคุณแม่แพ้ท้อง มี 3 อย่างที่ชัดเจน ดังนี้

  • แพ้ท้องตอนตื่นนอน (Morning Sickness) โดยคุณแม่จะรู้สึกมึนศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ในตอนเช้า ๆ หลังตื่นนอน หรือเวลาลุกจากที่นอน คุณแม่บางคนอาจเกิดอาการเช่นนี้ได้ตลอดวัน โดยเฉพาะเวลาท้องว่าง ซึ่งอาจทำให้วิงเวียน เป็นลม เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ในคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมากจนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำ น้ำหนักตัวลด อาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ ต้องรีบไปพบแพทย์


คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออาการแพ้ท้อง

myparentingjourney.com


  • อยากกินของแปลก ๆ หรือกินไม่ลง คุณแม่อาจจะมีอาการอยากกินอาหารแปลก ๆ ที่ไม่ค่อยได้กิน หรือบางคนมักกินอาหารไม่ลงในช่วงนี้ เป็นเพราะฮอร์โมนที่สูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรก ๆ ที่ทำให้คุณแม่ไม่ค่อยรับรู้รสชาติ กินอะไรไม่ค่อยอร่อย เบื่ออาหาร ดังนั้นคุณแม่จึงต้องพยายามดูแลตัวเองเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งหากรู้สึกไม่อยากกิน ควรกินทีละน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ และขาดสารอาหาร
  • มีอาการเหม็น คุณแม่บางคนอาจมีความรู้สึกเหม็นกลิ่นน้ำหอมที่คุ้นเคย เหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด เช่น กลิ่นกระเทียม กินผักบางอย่าง ทั้ง ๆ ที่เคยดมหรือเคยกินได้ แต่ตอนท้องช่วงนี้กลับรู้สึกได้กลิ่นทีไรแทบอยากจะอาเจียนทุกที แถมคุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกเหม็นกลิ่นตัวคุณพ่อได้อีกด้วย

ช่วงแพ้ท้องในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ยังมีกลไกการทำงานที่ช่วยป้อนสารอาหารที่จำเป็นให้แก่ทารกได้อยู่ในช่วงนี้ แต่ถ้าคุณแม่ยังมีอาการแพ้ท้องมากจนกินอะไรไม่ได้เลย ทารกจะเริ่มขาดสารอาหาร เพราะอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมอง ตับ หัวใจ กระเพาะอาหารและอื่น ๆ จะพัฒนาขึ้นจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นช่วงเดือนที่ 2 


bellamamalife.com


2.ตกขาว เพราะฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นตอนตั้งครรภ์ ประกอบกับคุณแม่จะมีเลือดไปเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คุณแม่มีมูกข้นเหนียวหรือตกขาว บริเวณปากมดลูกมากกว่าปกติ  นอกจากนี้บริเวณอวัยวะเพศของคุณแม่จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นด้วย

3.เต้านมขยายใหญ่ คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงเต้านมมาก เพราะในร่างกายมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงมากจนคั่งเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังเป็นร่างแหสีเขียว ๆ ลานหัวนมของคุณแม่จะมีสีคล้ำขึ้น และเกิดตุ่มเล็ก ๆ โดยรอบ ที่เรียกว่า ตุ่มมอนต์โกเมอรี (Montgomery) และเต้านมคุณแม่ก็เริ่มมีไขมันสะสม มีต่อมและท่อส่งน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการตั้งครรภ์และให้นมทารกในอนาคต

4.อารมณ์แปรปรวน คุณแม่มักจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อ่อนไหว ซึมเศร้า อ่อนล้า หรือบางครั้งก็หงุดหงิด รำคาญคนรอบข้างได้ง่าย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอารมณ์แปรปรวน ขึ้น ๆ ลง ๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ร่วมกับความกังวลใจในการดูแลครรภ์และอื่น ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นคุณแม่ตั้งครรภ์


วิธีการดูแลตัวเอง


คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง เนื่องจากในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือน อาการแพ้ท้องของคุณแม่จะปรากฎอย่างเด่นชัดขึ้น ดังนั้นจึงควรดูแลตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องเป็นสำคัญ โดยคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1. บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยอาหารคุณภาพ เดี๋ยวนี้มีคุกกี้ หรือแครกเกอร์ที่ทำจากแป้งข้าวโอ๊ตผสมธัญพืช ที่ช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ได้คุณค่าอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีนและแร่ธาตุ สามารถเป็นอาหารว่างให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทานเล่นได้ โดยคุณแม่ควรเตรียมอาหารว่างไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อตื่นขึ้นมาจะได้รับประทานได้ทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น เพราะอาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง


คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการแพ้ท้องในตอนเช้า

newhealthadvisor.com


2. หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง เนื่องจากอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการจุกเสียดแน่นหน้าอกได้ง่าย ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ แต่รับประทานหลาย ๆ มื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อย ๆ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก

3.กินทีละน้อย คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5-6 มื้อต่อวัน เนื่องจากในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ระบบการทำงานของลำไส้จะทำงานได้ช้า ย่อยอาหารยาก หากรับประทานครั้งละมาก ๆ ร่างกายจะทำงานไม่ไหว ยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นจึงควรกินทีละน้อย แต่อาศัยกินบ่อย ๆ แทน

4.บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยา สำหรับคุณแม่บางคนที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก การใช้ยาแก้แพ้ท้องก็จะช่วยระงับหรือบรรเทาอาการคลื่นไส้ให้ลดลงได้ ซึ่งยานี้มีทั้งแบบฉีดและรับประทาน โดยคุณหมอจะพิจารณาตามอาการและความรุนแรงของคุณแม่ที่แพ้เป็นรายบุคคลไป ห้ามซื้อยามาใช้เอง เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้ และในกรณีที่คุณแม่แพ้ท้องอย่างรุนแรง จนกินอะไรไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้สารอาหารผ่านทางน้ำเกลือ ซึ่งอาจจะมีวิตามินหรือยาแก้แพ้ผสมเข้าไปด้วย เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน

5.ดูแลจิตใจ อย่างที่ทราบกันดีว่าคุณแม่แพ้ท้อง มักจะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เพราะเหนื่อยและอ่อนเพลีย การดูแลทางด้านจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ สามีและครอบครัวควรให้กำลังใจ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องแล้วถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวมักจะทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้นได้


สามีคอยดูแลและเป็นกำลังใจ

parenting.firstcry.com


คุณพ่อแพ้ท้องแทนคุณแม่ได้จริงหรือ?


ในความเป็นจริง คุณพ่อไม่สามารถแพ้ท้องแทนคุณแม่ได้ เพราะว่าเป็นคนละคนกัน ฮอร์โมนก็ไม่เหมือนกัน อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นกับคุณพ่อนั้นจึงเป็นเรื่องของความผูกพันทางด้านจิตใจมากกว่า เป็นความรู้สึกร่วมกัน คุณพ่ออาจจะเป็นห่วงคุณแม่มากจนทำให้ตัวเองเครียด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมไปกับคุณแม่ด้วยนั่นเอง


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง


หากอาการแพ้ท้องนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง อาเจียน และน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นภาวะอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum : HG) ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และในบางครั้งมีความรุนแรงถึงขั้นจำเป็นต้องให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์เลยก็มี

ความเสี่ยงหลักในผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คือ ภาวะขาดน้ำและสมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ โดยมีรายงานระบุว่าผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อตัวเด็กอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา หรือคุณแม่ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้เพียงพอตามมาตรฐานในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ภาวะแพ้ท้องรุนแรงนี้แม้จะพบน้อยมาก แต่ความรุนแรงก็เยอะมากเช่นกัน เพราะเมื่อแพ้ท้องรุนแรง คุณแม่จะรับประทานอะไรไม่ได้เลย รับประทานเข้าไปก็อาเจียนออกมาหมด บางรายอาเจียนจนหลอดเลือดที่อยู่บริเวณหลอดอาหารมีการฉีกขาด ทำให้เวลาอาเจียนจะเห็นเลือดปนมากับเศษอาหาร และอาจมีแรงดันเลือดสูง จนเกิดรอยเลือดออกในเยื่อตา ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายขาดทั้งน้ำและอาหาร สภาพร่างกายดูทรุดโทรม ตาลึก ปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว ปัสสาวะสีเข้มเป็นสีขมิ้น ถ้าแพ้ท้องถึงระดับนี้ก็จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะให้น้ำเกลือ ซึ่งบางครั้งอาจมีการให้อาหารผ่านทางน้ำเกลือ เช่น วิตามินบี 6 และให้ยาช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง


อาการแพ้ท้องจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป

Pinterest.com


ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง


อวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นสมอง ตับ หัวใจ กระเพาะอาหารและอื่น ๆ จะพัฒนาขึ้นจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นช่วงเดือนที่ 2 ดังนั้นข้อควรปฏิบัติของคุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้จึงต้องเน้นเรื่องอาหารที่เหมาะสม โดยคุณแม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกายของคุณแม่ และส่งต่อไปเพื่อให้ทารกในครรภ์ใช้สำหรับเสริมสร้างพัฒนาร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้

1.โปรตีน สารอาหารหลักที่ร่างกายได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์ สำหรับใช้พัฒนาระบบการทำงานของสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ร่างกายสามารถรับได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด และในนม ไข่ ฯลฯ รวมถึงถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น

2.แคลเซียม ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่พบในกระดูก คุณแม่ควรได้รับการสะสมแคลเซียมไว้มาก ๆ เพราะส่วนหนึ่งแคลเซียมในร่างกายของคุณแม่จะต้องถูกส่งต่อไปให้ทารกในครรภ์เพื่อสร้างกระดูก ทำให้คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาในอนาคต ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้งหลังคลอดก็ยังต้องเสริมให้ร่างกายอยู่ตลอด โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม (หากกังวลว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้นมวัวได้หลังคลอด คุณแม่อาจดื่มนมสัปดาห์ละ 2 วัน) โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็ก ๆ กุ้งฝอย ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ และผักใบเขียวเข้มทุกชนิด รวมทั้งแคลเซียมเม็ดที่คุณหมออาจจัดให้คุณแม่เพื่อบำรุงระหว่างตั้งครรภ์ด้วย


คุณแม่ตั้งครรภ์เลือกอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

neuvokasperhe.fi


3.ธาตุเหล็ก ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าคุณแม่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง และทารกได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกมีปัญหาพัฒนาการทางสมองได้  แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น งา เนื้อแดง ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ฯลฯ

4.คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่สำคัญคือให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยร่างกายคุณแม่มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังจำเป็นต่อระบบสมองของทารกในครรภ์ด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช ก๋วยเตี๋ยว

5.โฟเลต มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก คุณหมอที่ดูแลครรภ์จะจัดโฟเลตให้คุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์ โดยโฟเลตถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ระบบประสาท และระบบประสาทไขสันหลังของทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์ นอกจากนี้แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ที่นอกเหนือจากในวิตามินที่คุณหมอจัดให้ คุณแม่สามารถเสริมโฟเลตให้ร่างกายทุกวันได้จากอาหารที่มีมากอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ผักโขม บร็อกโคลี่  แคนตาลูป น้ำส้ม ตับ เนื้อแดง หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า ฯลฯ


ในเดือนที่ 2 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องเป็นอาการปกติที่มักจะเป็นช่วงแรกของการตั้งครรภ์และจะหายไปได้เองเมื่อพ้นไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การรักษาแบบประคับประคอง รับประทานยาที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการช่วยเหลือดูแลจากครอบครัวและคนรักอย่างถูกต้องจะช่วยให้คุณแม่ผ่านพ้นภาวะยากลำบากนี้ไปได้ และหากมีอาการแพ้รุนแรงหรือความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน 

Related Tips

299,213
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,775
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,605
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

Related Shop

Kinderpuppets Silom - Sathorn
Khet Bang Kho Laem , Bangkok
Message
Products for sensitive skin children import from Korea, gentle with pure natural... Read More
BABY CREAM (180ml) 850 Baht
850 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 Baht
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 Baht
790 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 Baht
890 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
BABY LOTION (200ml) 690 Baht
690 THB
Kids Life Kids Health
Order by Kerry
690 THB
Baby Life Baby Care 0M-3M
Sriphat Medical Center Mueang Chiang Mai ,
Sripatum Center Faculty of Medicine Chiang Mai University Approved to be establi... Read More
Giving Birth
Ask Price
Giving Birth Natural Birth
Camille Salon Khet Din Daeng ,
07:00 - 20:00 Business infomation Business details Parking Parking: Street Pri... Read More
Hair Salon
Ask Price
Beauty Hair Salon - Product
Thantakit International Dental Center Ratchadapisek - Huaykwang
Khet Huai Khwang , Bangkok
Welcome to Thailand 's longest established dental center Receive professional... Read More
Dental Center
Ask Price
Kids Life Kids Dental

Pick up Reviews

SEE MORE

Pick up reviews

Most Popular Tips