อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 5 ที่ต้องรู้

2018.11.28 2,578

คุณแม่ตั้งครรภ์ 5 เดือน


หลังจากในเดือนที่ผ่านมาคุณแม่จะได้ตื่นเต้นกับการดิ้นครั้งแรกของลูกแล้ว มาถึงการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 5 นี้ ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น จากที่ดิ้นเบา ๆ ก็จะดิ้นแรงให้คุณแม่รู้สึกได้มากขึ้น ส่วนคุณแม่นั้นจะมีอาการและความเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 5 นี้บ้าง ไปดูกันเลย


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์เดือนที่ 5


อาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

1.ท้องใหญ่ ผิวพรรณเปลี่ยนไป ช่วงนี้คนอื่น ๆ จะสังเกตได้ชัดเจนแล้วว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะท้องคุณแม่จะใหญ่ เอวจะหายไปชัดเจน แถมยังมีริ้วรอยที่หน้าท้องหรืออาการท้องลายเกิดขึ้นได้บ้างแล้ว นอกจากนี้ผิวหนังตามบริเวณต่าง ๆ ของคุณแม่เช่น ใบหน้า แขน ไหล่ จะปรากฏให้เห็นเป็นเส้นเลือดฝอยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น มองดูเหมือนเป็นตาข่ายใยแมงมุม แต่รอยเส้นเลือดฝอยที่เด่นชัดนี้จะหายได้เองหลังคลอด


2.ท้องผูก ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มักมีอาการท้องผูกจากการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้ระบบการย่อยเปลี่ยนไป ร่วมกับกระเพาะอาหารและลำไส้ถูกเบียดถูกกดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งวิธีการป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ

  • ดื่มน้ำให้มาก เพื่อช่วยขับของเสียและเพิ่มระดับน้ำในร่างกาย
  • กินผักผลไม้ทุกวัน เพื่อให้ได้รับกากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย
  • กินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือแทนข้าวขาว
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด รสจัด เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนขณะขับถ่าย
  • ไม่ควรกินยาระบาย แต่เลือกใช้วิธีกินน้ำลูกพรุน หรือน้ำผลไม้ที่น้ำตาลน้อยเพื่อช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น


3.ระบบเผาผลาญ ทำงานมากขึ้น ในช่วงตั้งครรภ์ 5 เดือน คุณแม่อาจจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองขี้ร้อนและเหงื่อออกง่าย สาเหตุเกิดจากระบบเผาผลาญหรือสันดาปในร่างกายที่ทำงานมากขึ้น รวมถึงต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้คุณแม่รู้สึกร้อนง่าย เหนื่อยง่าย หายใจหอบเป็นบางครั้ง ดังนั้นหากรู้สึกร้อนเมื่อไร ควรนั่งพักในสถานที่ที่มีอากาศเย็นสบาย เปิดเครื่องปรับอากาศนั่งผ่อนคลาย หรืออาบน้ำให้รู้สึกสดชื่น


วิธีการดูแลตัวเอง     

   

ในการตั้งครรภ์เดือนที่ 5 นี้ ท้องคุณแม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาเวลานอนหลับ Happy Mom.Life ขอแนะนำท่านอนตะแคง ที่จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ง่าย รู้สึกสบายเนื้อสบายตัวมากยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวได้อีกด้วย


สำหรับการนอนหลับในช่วงตั้งครรภ์นับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด คุณแม่ตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ควรนอนพักผ่อนให้เต็มที่อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และหากมีเวลาควรงีบระหว่างวัน นอกจากนี้แล้วท่านอนของคุณแม่ยังมีความสำคัญต่อทารกในครรภ์ นั่นเป็นเพราะ ทารกจะได้รับออกซิเจนจากแม่ หากคุณแม่มีการเเลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนไม่ดี ทารกในครรภ์ก็มีภาวะเสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเช่นกัน


ท่านอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับแม่ท้อง คือนอนตะแคงงอเข่าเล็กน้อย โดยควรมีหมอนมาสอดรองรับส่วนคอ ไหล่ ท้องและขา ซึ่งการตะแคงซ้ายจะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายกว่าตะแคงขวา เพราะเส้นเลือดใหญ่ในท้องจะค่อนไปทางด้านขวา การนอนตะแคงซ้ายจึงทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกและดีกว่านั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้ปวดหลัง ปวดเมื่อยร่างกาย เพราะไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ


หลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากมดลูกที่เริ่มมีขนาดโตอาจไปกดทับเส้นเลือดใหญ่บริเวณกลางลำตัวทำให้เกิดอาการเท้าบวม เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร หรือบางครั้งอาจจะกดทับจนเลือดไหลกลับไม่ได้ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง เกิดอาการใจสั่นหรือวิงเวียนศีรษะเป็นลมได้


ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

thesleepjudge.com


โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

 

เมื่อมีอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้นตามครรภ์ของคุณแม่ก็ย่อมที่จะเสี่ยงมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เข้ามา ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่มีการตรวจครรภ์และเฝ้าระวังอย่างดีก็อาจจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่ไม่ดีได้ต่อตัวคุณแม่เอง ดังนั้นควรศึกษาและดูเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในแต่ละอายุครรภ์และวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น


สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน ก็คือโรคซึมเศร้า ในคุณแม่บางรายจะมีการซึมเศร้า ต้องการอยู่คนเดียวลำพัง ไม่สนใจกิจกรรมใด ๆ มีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากคิดมาก วิตกกังวลไปต่าง ๆ นานา โดยถ้าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นนานกว่าสองสัปดาห์ เป็นสัญญาณว่าควรจะต้องแก้ไขกับอาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์นี้อย่างจริงจัง


อาการซึมเศร้าเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ เพราะร่างกายจะหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง ผลตามมาอาจทำให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย หรือมีพัฒนาการผิดปกติร่างกายไม่แข็งแรง


ไม่เพียงเท่านั้น โรคซึมเศร้ายังอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกเมื่อเติบโตขึ้น ทำให้เป็นเด็กขาดสมาธิ อารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่ร่าเริง กระวนกระวายง่ายกว่าทารกที่เกิดจากแม่ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าควรจะหาวิธีผ่อนคลาย ขจัดความเศร้าให้หมดไป ซึ่งสามารถทำได้ ด้วย 4 วิธีนี้

  1. พยายามผ่อนคลายตัวเอง โดยพูดคุยระบายความรู้สึกนึกคิดที่กังวลไม่สบายใจให้กับสามี หรือญาติสนิทรับรู้ โดยคนรอบข้างก็ควรเปิดโอกาสให้คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ระบายความรู้สึก เพื่อผ่อนคลาย ที่สำคัญควรจะรับฟังด้วยความเข้าใจ ห่วงใยสนับสนุนและให้กำลังใจ
  2. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบทำยามว่าง เช่น เรียนตัดเสื้อให้ลูก เพนท์ผ้า อ่านหนังสือ เป็นต้น จะช่วยให้สบายใจและเพลิดเพลินใจมากขึ้น
  3.  ชวนคุณพ่อไปท่องเที่ยว หรือพักผ่อนต่างจังหวัด การได้เจอบรรยากาศใหม่ ๆ สบาย ๆ จะทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น
  4. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน โยคะ กระตุ้นการหลั่งเอนโดรฟินที่ทำให้มีความสุขและผ่อนคลายขึ้น  ร่างกายแข็งแรง และพร้อมต่อการคลอด


คุณแม่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังการเบา ๆ เพื่อความผ่อนคลาย

atik.briomotor.co


ข้อปฏิบัติและข้อควรระวัง

 

การตั้งครรภ์เดือนที่ 5 คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการตรวจต่าง ๆ  เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ดังนี้

1.ทดสอบความเสี่ยงภูมิแพ้ คุณแม่ควรรู้ให้ไวที่สุดว่าลูกมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้หรือไม่ เพื่อปกป้องลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ยอดฮิตที่มีอัตราการเป็นในเด็กเพิ่มมากขึ้น ๆ และอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาว การป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มมีบทบาทสำคัญมาก ลดโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคภูมิแพ้อื่น ๆ หรือลดความรุนแรงของโรคได้ เพื่ออนาคตของลูกน้อย พ่อแม่ยุคใหม่จึงยิ่งต้องใส่ใจและควรวางแผนป้องกันตั้งแต่วันนี้


2.การตรวจปัสสาวะ ในการตรวจปัสสาวะบางครั้งอาจพบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งอาจหมายถึง การเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ เมื่อคุณรับประทานอาหารมากขึ้น มีการเผาผลาญมากขึ้น บางครั้งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้มีน้ำตาลเหลือ และกรองผ่านไตออกมากับปัสสาวะ คุณหมออาจจะให้ตรวจซ้ำ หากผลการตรวจครั้งที่ 2 ปกติ เนื่องมาจากร่างกายสามารถปรับตัวและผลิตอินซูลินออกมาได้เพียงพอ ก็จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจ GTT (Glucose tolerance test) เพื่อยันยันผลการตรวจว่าปกติแน่นอน


ในช่วงเดือนที่ 5 คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้มากขึ้น ประกอบกับทารกในครรภ์เริ่มจะมีประสาทสมองที่จะรับรู้ได้ หากคุณแม่อยากกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ อาจเสริมด้วยการปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ 

1.หมั่นลูบท้องบ่อย ๆ สัมผัสเบา ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกได้เลยว่าทารกในครรภ์ดิ้นยู่ตลอด เป็นสัญญาณที่แสดงว่าทารกแข็งแรงและมีสุขภาพดี แต่หากว่าเริ่มดิ้นน้อยลงหรือหยุดไปนาน ๆ วันละหลายครั้ง ควรไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของทารกในครรภ์ ดังนั้นช่วงเดือนที่ 5 คุณแม่จะต้องเฝ้าสังเกตทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด


ดูพัฒนาการของทารกในครรภ์

pinterest.com


2.ฟังเพลง ในการตั้งครรภ์เดือนที่ 5 ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการด้านการได้ยินแล้ว เช่น เสียงเต้นของหัวใจของแม่ เป็นต้น จึงเป็นที่มาว่าหากตั้งครรภ์เดือนที่ 5 คุณแม่ตั้งครรภ์มีการฟังดนตรี หรือเปิดเพลงกล่อมทารกในครรภ์เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการพัฒนาระบบประสาทการได้ยินของทารกในครรภ์ รวมถึงการพูดคุย การลูบท้อง ก็ล้วนแต่เป็นการกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์


สำหรับคุณแม่แล้ว ไม่ว่าจะมีร่างกายที่เปลี่ยนไปอย่างไร จะท้องโต อึดอัด อุ้ยอ้าย ก็พร้อมที่จะอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะสิ่งสำคัญมากที่สุดของคนเป็นแม่ก็คือ “ลูก” ที่แม่คนนี้เฝ้านับวันนับเดือนรอจนถึงวันที่ทารกในครรภ์จะลืมตามาดูโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง

299,209
0
สูตรคำนวนปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ อายุ 0 -1 ขวบ ให้กินนมวัน...
ทารกแรกเกิด นมแม่ ดูดนม น้ำนม เด็ก
277,681
0
หล่อบาดใจ! 30 ไอเดียทรงผมลูกชายสุดเท่
ทรงผม เด็ก ทรงผมเด็ก แฟชั่น แฟชั่นทรงผมเด็ก
129,591
0
3 ท่า สอนจับทารกวัย 0-3 เดือน “เรอ” หลังกินนมอิ่มแบบเห็นผล
ทารก นมแม่ เด็ก แม่ เรอ

ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง

Kinderpuppets สีลม - สาทร
เขตบางคอแหลม , กรุงเทพฯ
ผลิตภัณท์สำหรับเด็กผิวแพ้ง่าย นำเข้าจากเกาหลี อ่อนโยนด้วยสารสกัดบริสุทธิ์จากธรรม... อ่านต่อ
BABY CREAM (180ml) 850 บาท
850 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SOOTHING GEL (250ml) 690 บาท
> 690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY SHAMPOO&BATH (250ml) 790 บาท
790 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY LOTION (200ml) 690 บาท
690 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
BABY ORGANIC OIL (60ml) 890 บาท
890 THB
เด็กทารก ดูแลเด็กแรกเกิด-3 เดือน
Sriphat Medical Center เมืองเชียงใหม่ ,
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งในครา... อ่านต่อ
คลินิกกุมาร (Pediatric Clinic)
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพเด็ก
Camille Salon เขตดินแดง ,
คามิเย่ ซาลอน สาขาศรีย่าน ยินดีให้บริการทุกท่านค่ะ เราพร้อมที่จะดูแลและให้คำปรึก... อ่านต่อ
ร้านเสริมสวย
สอบถามราคา
ความสวยความงาม สปาและซาลอน
Thantakit International Dental Center รัชดาภิเษก - ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง , กรุงเทพฯ
ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจเป็นศูนย์ทันตกรรมครบวงจรที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณปู่จง ศิริไกร... อ่านต่อ
ทันตกรรมเด็ก
สอบถามราคา
เรื่องทั่วไปของเด็ก สุขภาพช่องปากเด็ก

รีวิวแนะนำ

ทั้งหมด
โยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
Sofit
เรื่องทั่วไปของแม่ตั... เรื่องทั่วไปสำหรับแม...
3.00 1
Yosana Co

https://yosana.co/blogs/yoga-blog/yoga-for-moms-to-be/

บทความยอดนิยม

ร้านค้าตามหมวดหมู่